Knowledge

คาร์บอนเครดิต Carbon Credit คืออะไร กับสถานการณ์ คาร์บอน เครดิต ในประเทศไทย

คาร์บอนเครดิต (Carbon credit) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลด/กักเก็บได้จากการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านกลไกลดก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ มีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และสามารถนำคาร์บอนเครดิตไปแลกเปลี่ยนหรือซื้อ-ขายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้

หากสรุปให้เข้าใจง่ายๆ คาร์บอนเครดิต ก็เปรียบเสมือนใบอนุญาตหรือโควต้าในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวน 1 ตัน ซึ่งคาร์บอนเครดิตในอีกทางหนึ่ง ก็ถูกสร้างให้เกิดขึ้นจากการลดก๊าซเรือนกระจกได้จำนวน 1 ตันด้วยเช่นกัน โดยในประเทศที่มีการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผู้ที่ต้องการจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินปริมาณที่กำหนด จะต้องซื้อคาร์บอนเครดิตจากผู้ที่ขายคาร์บอนเครดิต

ทำไมถึงต้องมีคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย

เนื่องจากประเทศไทยได้ลงนามในสนธิสัญญาในการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกในพิธีสารโตเกียว (Tokyo Protocol) ซึ่งประเทศไทยจัดอยู่ในประเทศในภาคผนวกที่ 1 ลงนามในการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะไม่มีการกำหนดปริมาณเป็นตัวเลขอย่างชัดเจน โดยหนึ่งในแนวทางของการลดก๊าซเรือนกระจก คือ กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) เช่น การพัฒนาโครงการพลังงานสะอาด อย่างการการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เป็นต้น

ปัจจัยที่สอง คือ การที่ประเทศไทยลงนามความตกลงปารีส ซึ่งมีเป้าหมายในการเสริมสร้างความรับผิดชอบร่วมกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับก่อนยุคอุตสาหกรรม และควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับก่อนยุคอุตสาหกรรม

ทั้งนี้จากปัจจัยทั้งสองจึงได้มีการปรับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) ของปี 2561-2580 ใหม่ออกมาในปี 2561 ปรับจากเมื่อปี 2558 ให้มีสัดส่วนของพลังงานทดแทนต่อพลังงานรวมทั้งหมดจาก 10.04% เป็น 34.23

AEDP ประเทศไทย

ในการบรรลุเป้าหมายใน AEDP จึงได้มีการส่งเสริมพลังงานสะอาด หนึ่งในโครงการส่งเสริมคือ โครงการนำร่อง Carbon Credit ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นโครงการ T-VER (โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย : Thailand Voluntary Emission Reduction Scheme) หรือ โครงการ Thailand V-ETS (โครงการนำร่องระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย : Thailand Voluntary Emission Trading Scheme)

สถาณการณ์ คาร์บอนเครดิต ในประเทศไทย
สถาณการณ์ คาร์บอนเครดิต ในประเทศไทย

โครงการ T-VER (โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย : Thailand Voluntary Emission Reduction Scheme)

“โครงการ T-VER” คือ กลไกลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศที่ TGO พัฒนาขึ้น มีชื่อเต็มว่า โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program) เรียกย่อว่า T-VER (อ่านว่า ที-เวอ) ซึ่งเป็นกลไกที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ โดยประเภทของโครงการที่สามารถเข้าร่วมโครงการได้ ได้แก่

  • การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน
  • การพัฒนาพลังงานทดแทน
  • การจัดการของเสีย
  • การจัดการในภาคขนส่ง
  • การปลูกป่า/ต้นไม้
  • การอนุรักษ์/ฟื้นฟูป่า
  • การเกษตร

 

โดยผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะต้องจัดทำ Monitoring Report แสดงผลการดำเนินการในการลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อนำไปใช้ในการรับรองและออก Carbon Credit ให้แก่ผู้ร่วมโครงการ และสามารถทำการซื้อขาย Carbon Credit ได้โดยการติดต่อเจ้าหน้าที่ อบก. (องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก, TGO)

โครงการ Thailand V-ETS (โครงการนำร่องระบบการซื้อขายใบอนุญาตปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย : Thailand Voluntary Emission Trading Scheme)

ระบบการซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Trading Scheme) หรือที่เรียกว่า ระบบ Thailand V-ETS เป็นกลไกหนึ่งที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ได้พัฒนาขึ้น เพื่อส่งเสริมการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจของประเทศไทย

โดยกลุ่มเป้าหมายคืออุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูง ได้แก่

  • อุตสาหกรรมซีเมนต์
  • อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและกระดาษ
  • อุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ
  • อุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
  • อุตสาหกรรมสิ่งทอ
  • อุตสาหกรรมเซรามิก
  • อุตสาหกรรมน้ำตาล
  • อุตสาหกรรมเซรามิกเครื่องดื่ม
  • อุตสาหกรรมแก้วและกระจก
  • อุตสาหกรรมพลาสติก

 

โดยกลไกการดำเนินการของโครงการคืออุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการจะถูกกำหนดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่สามารถปล่อยได้ (Allowance Allocation) โดยผู้เข้าร่วมจะต้องพยายามดำเนินการกิจการให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้น้อยกว่าปริมาณที่กำหนด แต่หากต้องการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าปริมาณที่กำหนด (Cap) จะต้องทำการซื้อคาร์บอนเครดิตไม่น้อยกว่าจำนวนของก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยเกินมา (1 ตัน เท่ากับ 1 คาร์บอนเครดิต) โดยสามารถซื้อจากผู้ที่เข้าร่วมโครงการ T-VER ที่กล่าวมาข้างต้นได้ โดยซื้อได้ไม่เกิน 15% ของ Allowance Allocation และหากผู้เข้าร่วมโครงการมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าปริมาณที่กำหนด จะสามารถเก็บส่วนต่างไปทบไว้ในปีต่อๆไปได้ (Banking)

กลไกราคาคาร์บอนเครดิต… คาร์บอน เครดิต ราคา เท่าไหร่

คาร์บอนเครดิตนั้นมีราคาไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงไปตามตามอุปสงค์และอุปทาน (Demand and Supply) โดยราคาเฉลี่ย ณ ปัจจุบันในแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกันไปตามความต้องการของตลาด เช่น ยุโรป ราคา 70 $ ต่อ 1 คาร์บอนเครดิต อเมริกา 35$ ต่อ 1 คาร์บอนเครดิต ประเทศจีนและไทย ราคา 7$ และ 0.7$ ต่อหนึ่งคาร์บอนเครดิต ตามลำดับ

ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าราคาคาร์บอนเครดิตในประเทศไทยมีราคาต่ำมากเทียบกับในประเทศอื่นๆที่มีการส่งเสริมเรื่องคาร์บอนเครดิต เหตุผลที่ราคาคาร์บอนเครดิตต่ำในประเทศไทย เนื่องจาก ในประเทศไทยมีความต้องขายคาร์บอนเครดิต มากกว่าความต้องการซื้อมาก ทำให้มีราคาต่ำ เพราะประเทศไทยยังไม่ได้มีการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยคาร์บอนออกไซด์อย่างเป็นทางการ

ทั้งนี้บริษัทแอดฮีซีลได้เห็นความสำคัญในการลดก๊าซเรือนกระจก จึงได้มีการควบคุมการผลิตอย่างใกล้ชิดให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสารระเหยให้น้อยที่สุด ตามนโยบายของบริษัท… มุ่งมั่น พัฒนา รักสิ่งแวดล้อม

Share post :

เว็บไซต์ของ บริษัท แอดฮีซีล จำกัด มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่บริษัทฯจัดเก็บ วัตถุประสงค์ในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ ของบริษัทฯ