Hybrid Sealant หรือ MS Sealant คืออะไร ดีกว่ากาวยาแนวชนิดอื่นๆอย่างไร

MS hybride

Hybrid Sealant คือ กาวยาแนวที่เกิดจากการรวมคุณสมบัติที่ดีของกาวซิลิโคน และกาวโพลียูรีเทนเข้าด้วยกัน โดยนำเฉพาะคุณสมบัตเด่นในเรื่องของความแข็งแรง และการทาสีทับได้มาจากกาวโพลียูรีเทน และคุณสมบัติการทนทานต่อรังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากกาวซิลิโคน นอกจากนี้กาว Hybrid ยังคุณสมบัติพิเศษอื่นๆได้แก่ มีตัวทำละลายต่ำ (Solvent-free) และไอโซไซยาเนตต่ำ (Isocyanate-free) ทำให้เมื่อแข็งตัวแล้วมีการหดตัวต่ำ และไม่มีฟองอากาศคล้ายแผลพุพองบนผิวเนื้อกาว กาวไฮบริดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มหลัก คือ Silyl-Modified Polyurethanes (SPUR Polymers) และ Silyl-Modified Polyethers (MS Polymers) ทั้ง 2 ชนิดมีคุณสมบัติทางเคมีที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากมีโครงสร้าง (Backbone Structure) ใกล้เคียงกัน โดยตัวที่ได้รับความนิยมในหมู่กาวยาแนว Hybrid Sealant เป็นอย่างมากในขณะนี้คือ MS Sealant ข้อดีของกาว Hybrid Sealant หรือ MS Sealant ดีต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Friendly) กาว […]

คราบสีดำ คราบฉ่ำ แบบนี้เกิดขึ้นจากอะไร แก้ไขได้ด้วย Non Staining Sealant

non staining sealant

หลายๆครั้งนั้นเราอาจสงสัยว่า คราบสีดำคล้ายน้ำสกปรกไหล บนอลูมิเนียมคอมโพสิต หรือคราบฉ่ำบนฟาซาดหินธรรมชาตินั้นเกิดขึ้นจากอะไร แล้วจะป้องกันเหตุการณ์นี้ได้อย่างไร แก้ไขได้ง่ายๆด้วย Non Staining Sealant คราบดังกล่าวนี้มีต้นกำเนิดมาจากกาวยาแนว ซึ่งมักเป็นกาวซิลิโคนที่มีราคาถูก ที่ใช้ยาแนวระหว่างร่องอะลูมิเนียมคอมโพสิต หรือแผ่นหินธรรมชาติ ในกาวซิลิโคนจะมีส่วนผสมของพลาสติไซเซอร์ หรือน้ำมันซิลิโคน ที่ช่วยในเรื่องของความยืดหยุ่น และการไหลของกาวซิลิโคน โดยทั่วไปแล้ว พลาสติไซเซอร์จะไม่ได้แข็งตัวแล้วยึดเกาะติดกับกาวที่แข็งตัวแล้ว ฉะนั้นเมื่อใช้ไปเป็นเวลานาน พลาสติไซเซอร์จะสามารถระเหยออกมาเป็นไอ หรือไหลซึมออกมาจากเนื้อกาวได้ ในกรณีของคราบดำบนอลูมิเนียมคอมโพสิต ด้วยความที่อลูมิเนียมคอมโพสิตไม่มีรูพรุน พลาสติไซเซอร์ที่ซึมออกจากเนื้อกาวก็จะไหลลงไปบนแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต จึงทำให้สิ่งสกปรกและฝุ่นมาเกาะได้ง่าย ด้วยความที่พลาสติไซเซอร์หรือน้ำมันซิลิโคนมีความมัน ทำให้เกิดคราบดำไหลเยิ้มทำความสะอาดยากติดอยู่บนแผ่นอลูมิเนียมคอมโพสิต สำหรับกรณีคราบฉ่ำบนฟาซาดหินธรรมชาติ ด้วยความที่หินธรรมชาติมีรูพรุนสูง พลาสติไซเซอร์ที่ระเหยออกมาจากเนื้อกาวซิลิโคนจึงซึมเข้าไปในเนื้อหินธรรมชาติ ทำให้หินเปลี่ยนสี มีสีเข้มขึ้น และเป็นคราบฉ่ำ วิธีการแก้ไขปัญหาคราบจากกาวยาแนว วิธีการแก้ไขปัญหาคราบจากกาวยาแนวซิลิโคนที่ดีที่สุด คือ การเลือกใช้การซิลิโคนคุณภาพสูง ที่มีคุณสมบัติ Non-Staining ซึ่งไม่มีพลาสติไซเซอร์ เช่น กาวซิลิโคนซึ่งมีมาตรฐาน Non-Staining ASTM C1248 รองรับ เช่น Shinetsu SEALANT-556LS หรือเลือกใช้เป็นกาว MS Sealant เช่น BONDFLEX Modified Sealant 35 หรือกาวโพลียูรีเทน […]

ซิลิโคนกันไฟ อะคริลิคกันไฟ ใช้ต่างกันอย่างไร ใช้ผิดชีวิตเปลี่ยน

ซิลิโคนกันไฟ

ปัจจุบันนี้ในการสร้างตึกสูง เริ่มมีการบังคับใช้กฎหมายต่างๆอย่างเข้มงวด เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย โดยการบังคับให้มีระบบความปลอดภัยต่างๆ เช่น สัญญาณเตือนกันเพลิงไหม้ ระบบน้ำสำหรับดับเพลิง ถังดับเพลิง และการใช้วัสดุก่อสร้างต่างๆที่สามารถช่วยชะลอเพลิงไหม้ได้ เช่น การใช้ประตูกันไฟ ผนังกันไฟ สีกันไฟ และยาแนวกันไฟ เป็นต้น เนื่องจากการเกิดอัคคีภัย ทำให้เกิดความเสียหายที่สูง การเลือกใช้วัสดุกันไฟให้เหมาะสม เช่น การเลือกกาวยาแนวให้ถูกต้อง เช่น ซิลิโคนกันไฟ และ อะคริลิคกันไฟ เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย พร้อมทั้งป้องกัน และลดความเสียหายที่อาจะเกิดต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน จึงเป็นสิ่งสำคัญ การเลือก ยาแนวกันไฟ รายละเอียดเล็กๆที่อาจช่วยชีวิตนับร้อยได้ รู้หรือไม่? ควัน อันตรายกว่าไฟ การเสียชีวิตจากอัคคีภัยภายในอาคารส่วนใหญ่เกิดจากการสูดควันไฟ ไม่ใช่จากการโดนไฟเผา หากเกิดเพลิงไหม้ในอาคาร ออกซิเจนที่เป็นแก๊สที่สำคัญในการหายใจของมนุษย์จะถูกใช้ในการเผาไหม้ในการเกิดเพลิง ทำให้ออกซิเจนในอากาศลดลง ทำให้มนุษย์หายใจได้ลำบาก นอกจากนี้การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์จะทำให้เกิดแก๊สพิษซึ่งมีอันตราย เช่น แก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์ (Carbonmonoxide) และแก๊สพิษอื่นๆที่เกิดจากการเผาไหม้พลาสติกต่างๆ เช่น ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen Cyanide) และฟอสจีน (Phosgene) ในการสร้างอาคารบ้านเรือน ระหว่างแผ่นคอนกรีต […]

วิธีใช้กาวอีพ็อกซี่ ในการประสานรอยต่อ ด้วย SeaGard P11 HM Plus

วิธีใช้กาวอีพ็อกซี่ ปาดเข้ารอยต่อ

วิธีใช้กาวอีพ็อกซี่ SeaGard P11 HM Plus 1. การทำความสะอาด โดยการขัดและปัดฝุ่น โดยพื้นผิวคอนกรีตจะต้องแห้งและสะอาด  2. ผสมกาวอีพ็อกซี่ SeaGard P11 HM Plus ตามสัดส่วน ส่วน A ต่อ ส่วน B เท่ากับ 1:1 โดยน้ำหนัก (หรือหากเป็นกาวอีพ็อกซี่ชนิดอื่น ให้ผสมตาม วิธีใช้กาวอีพ็อกซี่ บนฉลากของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ) Part A เป็นพาร์ทเรซิ่น จะมีสีเป็นสีขาว Part B เป็นพาร์ท Hardener หรือตัวทำแข็ว มีสีเป็นสีดำ   3. กวนโดยใช้เครื่องในการปั่นผสม ปั่นจนส่วนผสมเป็นเนื้อเดียวกัน จนไม่มีลักษณะเป็นริ้วสีขาวและดำแยกกัน 4. หากจำเป็น ให้ใส่ Backer Material เข้าลงในรอยต่อ ก่อนลงกาวอีพ็อกซี่  5. ใช้เกรียงปาดกาว SeaGard P11 HM Plus ลงในช่องว่างรอยต่อให้เต็ม โดยปาดเข้าทางด้านซ้ายและขวาสลับกันไปมา เพื่อให้กาวลงไปอุดประสานเต็มร่องที่เตรียมไว้ให้เต็ม และปาดตกแต่งผิวให้เรียบ […]

ความแตกต่างระหว่าง ซิลิโคน และ อะคริลิค และวิธีการเลือกใช้ให้ถูกต้อง

ความแตกต่างระหว่าง ซิลิโคน และ อะคริลิค

ซิลิโคนและอะคริลิคเป็นกาวที่ถูกใช้ในการยาแนวปิดช่องว่าง หรือรอยต่อ ภายในบ้านหรืออาคารต่างๆ โดยมีลักษณะภายนอกที่ใกล้เคียงกันเป็นอย่างมาก แต่ในการเลือกกาวยาแนวชนิดใดชนิดหนึ่งต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายๆอย่าง โดยต้องคำนึงถึงการนำไปใช้งานเป็นหลัก ดังนั้นการเข้าใจ ความแตกต่างระหว่าง ซิลิโคน และ อะคริลิค จึงสำคัญ ซิลิโคน คือ ซิลิโคน คือ กาวยาแนวที่มีส่วนประกอบหลักมาจากโพลีเมอร์ซิลิโคน หลังจากแห้งและแข็งตัวจะมีลักษณะแข็งและมีความยืดหยุ่นสูง มีผิวมันวาว กาวซิลิโคนถูกใช้ทั้งในงานทั่วไปในบ้านเรือน และในงานอุตสาหกรรม กาวซิลิโคนมีทั้งหมด 2 ประเภท คือ กาวซิลิโคนชนิดเป็นกรด (Acetic Cure Silicone) และกาวซิลิโคนชนิดเป็นกลาง (Neutral Cure Silicone) โดยกาวซิลิโคนชนิดเป็นกรดหรือ Acetic Cure Silicone จะมีลักษณะเฉพาะตัว คือ ในขณะใช้งานจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวเหมือนน้ำส้มสายชู เนื่องจากสารระเหยที่เป็นส่วนผสม ซึ่งมีผลทำให้กาวชนิดนี้แห้งเร็ว และมีความแข็งแรงสูง แต่อาจมีฤทธิ์กัดกร่อนวัสดุที่นำไปติดได้ เนื่องจากกาวมีความเป็นกรด จึงนิยมในการนำไปใช้ติดกระจกที่มีความทนทานต่อสารเคมีสูง ในส่วนของกาวซิลิโคนชนิดเป็นกลาง (Neutral Cure Silicone) จะมีลักษณะที่แห้งตัวช้ากว่า มีความแข็งแรงน้อยกว่า แต่มีความยืดหยุ่มสูงกว่ากาวซิลิโคนที่เป็นกรด มีกลิ่นเหม็นน้อยกว่า และไม่มีฤทธิ์กัดกร่อนวัสดุ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น […]

ความแตกต่างระหว่างซิลิโคน และโพลียูรีเทน (กาวพียู) คืออะไร

ความแตกต่างระหว่างซิลิโคน และโพลียูรีเทน

กาวซิลิโคนและกาวโพลียูรีเทน (กาวพียู) แตกต่างกันอย่างไร กาวยาแนว หรือ Sealant คือวัสดุอุดแนวรอยต่อระหว่าง 2 วัสดุซึ่งอาจเหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้ เพื่อป้องกันการซึมผ่านของน้ำ แก๊ส และฝุ่น และรองรับการขยับตัวของรอยต่อ กาวยาแนว 2 ประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ กาวซิลิโคน และกาวโพลียูรีเทนหรือกาวพียู กาวยาแนวทั้งสองประเภทมีความยืดหยุ่นและรองรับการยืดหดตัวได้ถึง 25-50 เปอร์เซ็นต์ แต่กาวทั้งสองประเภทมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันทำให้เหมาะแก่การใช้งานที่ต่างกันออกไป ความแตกต่างระหว่างซิลิโคน และโพลียูรีเทน (กาวพียู) ได้แก่ คุณสมบัติทางเคมี กาวซิลิโคน เป็นสารประกอบอนินทรีย์ ประกอบด้วยซิลิคอนและออกซิเจน เป็นองค์ประกอบหลัก มีโครงสร้างสันหลัง (Backbone) เป็นซิลิคอนจับกับออกซิเจน (Si-O-Si) ซึ่งมีพลังงานพันธะ (Bond Energy) หรือพลังงานที่ต้องใช้ในการสร้างหรือทำลายพันธะเท่ากับ 106 kcal/mol ซึ่งมีค่ามากกว่าค่าพลังงานพันธะของกาวโพลียูรีเทนที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีโครงสร้างสันหลังเป็นคาร์บอน (C-C / ค่าพลังงานพันธะเท่ากับ 85 kcal/mol) ทำให้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากแสงอาทิตย์ กาวโพลียูรีเทน เป็นสารประกอบอินทรีย์ […]

เว็บไซต์ของ บริษัท แอดฮีซีล จำกัด มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่บริษัทฯจัดเก็บ วัตถุประสงค์ในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ ของบริษัทฯ