Knowledge

ต่อเติมบ้าน ต่อเติมโรงจอดรถ ไม่มีเรื่องกับคนข้างบ้าน และ กฎหมายการต่อเติมบ้าน

ต่อเติมบ้าน กฏหมาย ต่อเติมโรงจอดรถ

เจ้าของบ้านหลายๆท่านที่อยากจะ ต่อเติมบ้าน คงมีคำถามกันอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นสามารถต่อเติมได้เลยไหม ต้องขออนุญาติก่อนไหม ต้องไปเจรจา ต้องไปเถียงกับคนข้างบ้านไหม แล้วต่อเติมได้มากแค่ไหนกัน มีกฎหมายบังคับอย่างไรบ้าง วันนี้แอดฮีซีลมีคำตอบในการต่อเติมบ้านและโรงจอดรถให้

โดยมีข้อกำหนดที่ต้องคำนึงถึงหลักๆดังนี้

1. ต่อเติมบ้าน แบบไหน จึงไม่ต้องขออนุญาติ

ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11 พศ. 2528 ออกตามความในพระราชบัญญัติปี 2522 ได้มีการระบุไว้การว่ากระทำดังต่อไปนี้ไม่ใช่การดัดแปลงอาคาร ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงใดๆที่ตรงกับรายการต่อไปนี้ แปลว่าไม่ต้องไปขออนุญาติดัดแปลงอาคารก่อนนั่นเอง

1.1  การเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารโดยใช้วัสดุขนาด จํานวน และชนิดเดียวกบของเดิม เว้นแต่การ
เปลี่ยนโครงสร้างของอาคารที่เป็นนคอนกรีตเสริมเหล็ก คอนกรีตอัดแรง หรือเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ

1.2  การเปลี่ยนแปลงส่วนต่างๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร โดยใช้วัสดุชนิดเดียวกับ
ของเดิม หรอวัสดุชนิดอื่นซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสรางของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ

1.3  การเปลี่ยนแปลง การต่อเติม การเพิ่ม การลด หรือการขยายซึ่งลักษณะ ขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ของส่วนต่างๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคารซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ

1.4  การลดหรือการขยายเนื้อที่ของพื้นชั้นหนึ่งชั้นใด ให้มีเนื้อที่น้อยลงหรือมากขึ้นรวมกันไม่เกินห้าตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน หรือ

1.5  การลดหรือการขยายเนื้อที่ของหลังคา ให้มีเนื้อที่มากขึ้นรวมกันไม่เกินห้าตารางเมตร โดยไม่ลดหรือเพิ่มจำนวนเสาหรือคาน

1.6  การติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารอยู่อาศัยที่มีขนาดพื้นที่ติดตั้งไม่เกิน 160 ตารางเมตร และมีน้ำหนักรวมไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร โดยต้องมีผลการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงที่กระทำและรับรองโดยวิศวกรโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรว่าสามารถติดตั้งได้อย่างปลอดภัย และแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนดำเนินการ

จากข้อ 1.1 ถึงข้อ 1.5 หมายความว่า ถ้าหากต้องการต่อเติมหรือปรับเปลี่ยนสิ่งใดๆโดยไม่ขออนุญาติ ต้องไม่มีการยุ่งกับส่วนที่ถือว่าเป็นโครงสร้างของอาคาร เช่น เสา หรือคาน ห้ามมีการเพิ่มหรือลดจำนวน แปลว่าอยู่ดีๆจะไปทุบเสาเดิม หรือสร้างเสาเพิ่ม ก็ไม่สามารถทำได้ถ้าไม่ขออนุญาติดัดแปลงอาคารนั่นเอง ที่สามารถทำได้คือการต่อเติมโดยไม่เพิ่มหรือลดเสา หรือคาน และต้องมีพื้นที่น้อยกว่า 5 ตารางเมตรโดยใช้วัสดุเดิม ยกตัวอย่างเช่น การยืดกันสาด โดยต่อกันสาดออกไป โดยใช้วัสดุเดิม ถ้าหากต่อออกไป 1 เมตร กันสาดจะยาวได้สูงสุด 5 เมตร และห้ามมีการยืดเสาและคานออกไป 

หรือการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้ไปยุ่งกับโครงสร้าง เช่น การเปลี่ยนผนัง หรือพื้น แต่ๆๆ… ต้องเป็นวัสดุเดิม ที่ไม่ใช่คอนกรีค และเหล็ก ฉะนั้นก็เหลือแค่ไม้ และอิฐ และห้ามมีน้ำหนักมากเกิมเดิมเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ ถ้าสมมติต้องการเปลี่ยนผนังอิฐมวลเบา (มีน้ำหนัก 120 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) เป็นอิฐมอญ (มีน้ำหนัก 180 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) จะไม่สามารถทำได้ เพราะอิญมอญมีน้ำหนักมากกว่าอิฐมวลเบาเดิม 60 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งคิดเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าหากต้องการเปลี่ยนอิฐมอญเป็นอฐมวลเบา สามารถทำได้เลย ไม่มีปัญหา ไม่ต้องไปขออนุญาติดัดแปลงอาคาร

ทั้งนี้ที่มีข้อกำหนดมากมายขนาดนี้ เนื่องจากหากมีการดัดแปลง ต่อเติมอาคารมากกว่านี้โดยไม่มีการขออนุญาติ อาจทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัยได้

สำหรับใครที่ต้องการดัดแปลงอาคารมากกว่านี้ มาติดตามดูกันต่อว่า ต่อเติมแบบไหนถึงสามารถทำได้ไม่ผิดกฏหมายกัน

2. กฎหมายต่อเติมบ้าน ที่เกี่ยวข้อง หรือ พรบ.ควบคุมอาคาร

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร มีการกำหนดให้การก่อสร้าง/ต่อเติมต้องมีระยะห่างระหว่างอาคาร และระยะร่นจากรั้ว เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยและบุคคลข้างเคียง และป้องกันการรบกวนบุคคลในพื้นที่ข้างเคียง สรุปง่ายๆ ดังนี้

2.1 ตัวบ้านมีขนาดได้ไม่เกิน 30 เปอร์เซ็นต์ของที่ดิน
ขอบเขตของตัวบ้านต้องไม่เกิน 70 เปอร์เซ็นต์ของที่ดิน ยกตัวอย่างเช่น หากพื้นที่ดินของบ้านเรามีขนาด 100 ตารางวานั้น เราไม่สามารถสร้างอาคารเต็มพื้นที่ได้ จะสามารถสร้างสิ่งปลูกสร้างได้ไม่เกิน 70 ตารางวาเท่านั้น หรือว่ามีพื้นที่ดินว่าง 30 เปอร์เซ็นต์นั่นเอง

1.1 ระยะห่างร่นระหว่างอาคารที่ก่อสร้าง ส่วนต่อเติมบ้าน
อาคารชั้นเดียว จนถึงอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร เช่น ต่อเติมบ้าน พื้นที่หลังบ้าน เป็นห้องครัว ห้องซักล้าง ระเบียงชั้น 2 ระยะห่างผนัง ถ้ามีช่องเปิด (ช่องเปิด หมายถึง หน้าต่าง ช่องลม ช่องที่สามารถส่องผ่านได้ ไม่เว้นแม้กระทั่ง ช่องแสง บล็อกแก้ว) ต้องเว้นระยะห่างร่นจากแนวเขตที่ดินข้างเคียง เช่น รั้วบ้าน อาคารข้างเคียง ไม่น้อยกว่า 2.00 เมตร

กฏหมาย ต่อเติมบ้าน ต่อเติมโรงจอดรถ

ถ้าเป็นผนังทึบ (ไม่มีผนังช่องเปิด) ต้องเว้นระยะห่างจากแนวเขตที่ดินข้างเคียง ไม่น้อยกว่า 0.50 เมตร เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของพื้นที่ข้างเคียง เป็นลายลักษณ์อักษร (มีหนังสือยินยอม) สามารถสร้างชิดเขตแนวที่ดินได้ง

สำหรับระยะห่างชายคา/กันสาด (พื้นที่ที่คนขึ้นไปใช้งานหลักไม่ได้)เช่นเดียวกับผนังทึบ ชายคาต้องห่างจากแนวเขตไม่น้อยกว่า 0.5 ม.

ต่อเติมกันสาด ต่อเติมระเบียง ต่อเติมชั้นลอย ต่อเติมบ้าน

ต่อเติมโรงจอดรถทาวน์โฮม ใหม่ได้หรือไม่?

สำหรับทาวน์โฮม ซึ่งเป็นบ้านขนาดเล็กๆสร้างติดกันหลายๆหลัง แต่ละบ้านใช้กำแพงบ้านร่วมกัน มีพื้นที่ว่างแค่บริเวณด้านหน้าและด้านหลังระหว่างรั้วตามกฎหมายเกี่ยวกับระยะร่น โดยบ้านชนิดนี้มักถูกสร้างโดยใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่า มักจะถูกออกแบบตามกฎหมายให้บริเวณบ้านกินพื้นที่ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์เรียบร้อยแล้ว ฉะนั้นการที่จะต่อเติมสิ่งก่อสร้างใดๆเข้าแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย นอกจากถ้าหลังต่อเติมและพิจารณาระยะร่นตามด้านบนแล้วมีพื้นที่ว่างมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์จึงจะสามารถต่อเติมได้ และต้องไปขออนุญาติดัดแปลงอาคาร

แต่ทุกคนอาจจะสงสัยว่าทำไมบ้านทาวน์โฮมหลังอื่นถึงได้ต่อเติมโรงจอดรถกันได้ล่ะ?… คำตอบคือ ไม่ขออนุญาตินั่นเองจ้า จุ๊จุ๊ แต่แอดฮีซีลก็ไม่แนะนำทางนี้นะทุกคน อาจจะโดนให้รื้อในอนาคตได้นะจ้ะ

Share post :

เว็บไซต์ของ บริษัท แอดฮีซีล จำกัด มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่บริษัทฯจัดเก็บ วัตถุประสงค์ในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ ของบริษัทฯ