สารบัญ
- การเลือก ยาแนวกันไฟ รายละเอียดเล็กๆที่อาจช่วยชีวิตนับร้อยได้
- ซิลิโคนกันไฟ หรือ อะคริลิคกันไฟ ใช้อันไหนดี?
อะคริลิคกันไฟ คือ (Fire Rated Acrylic Sealant / Fireproof Acrylic Sealant)
- อะคริลิคกันไฟลามและหน่วงไฟ (แอดซีล 765 ไฟร์ปรูฟ) คืออะไร?
- ซิลิโคนกันไฟลาม (แอดซีล ซิลิโคน ไฟร์ปรูฟ) คืออะไร คุณสมบัติเด่น และการทำงาน?
ปัจจุบันนี้ในการสร้างตึกสูง เริ่มมีการบังคับใช้กฎหมายต่างๆอย่างเข้มงวด เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัย โดยการบังคับให้มีระบบความปลอดภัยต่างๆ เช่น สัญญาณเตือนกันเพลิงไหม้ ระบบน้ำสำหรับดับเพลิง ถังดับเพลิง และการใช้วัสดุก่อสร้างต่างๆที่สามารถช่วยชะลอเพลิงไหม้ได้ เช่น การใช้ประตูกันไฟ ผนังกันไฟ สีกันไฟ และยาแนวกันไฟ เป็นต้น เนื่องจากการเกิดอัคคีภัย ทำให้เกิดความเสียหายที่สูง การเลือกใช้วัสดุกันไฟให้เหมาะสม เช่น การเลือกกาวยาแนวให้ถูกต้อง เช่น ซิลิโคนกันไฟ และ อะคริลิคกันไฟ เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย พร้อมทั้งป้องกัน และลดความเสียหายที่อาจะเกิดต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน จึงเป็นสิ่งสำคัญ
การเลือก ยาแนวกันไฟ รายละเอียดเล็กๆที่อาจช่วยชีวิตนับร้อยได้
รู้หรือไม่? ควัน อันตรายกว่าไฟ การเสียชีวิตจากอัคคีภัยภายในอาคารส่วนใหญ่เกิดจากการสูดควันไฟ ไม่ใช่จากการโดนไฟเผา หากเกิดเพลิงไหม้ในอาคาร ออกซิเจนที่เป็นแก๊สที่สำคัญในการหายใจของมนุษย์จะถูกใช้ในการเผาไหม้ในการเกิดเพลิง ทำให้ออกซิเจนในอากาศลดลง ทำให้มนุษย์หายใจได้ลำบาก นอกจากนี้การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์จะทำให้เกิดแก๊สพิษซึ่งมีอันตราย เช่น แก๊สคาร์บอนมอนนอกไซด์ (Carbonmonoxide) และแก๊สพิษอื่นๆที่เกิดจากการเผาไหม้พลาสติกต่างๆ เช่น ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Hydrogen Cyanide) และฟอสจีน (Phosgene)
ในการสร้างอาคารบ้านเรือน ระหว่างแผ่นคอนกรีต ประตู หน้าต่าง ระบบท่อดัก และรอยต่อต่างๆ จะต้องมีการยาแนวโดยใช้วัสดุยาแนว เช่น ซิลิโคน และอะคริลิค หากใช้กาวยาแนวที่ไม่กันไฟหรือไม่เหมาะสม ในการยาแนวระหว่างแผ่นคอนกรีตหรือประตูกันไฟ หากเกิดเพลิงไหม้ กาวยาแนวนั้นจะถูกเผาไหม้และเกิดช่องว่างระหว่างรอยต่อ ก่อนที่แผ่นคอนกรีตหรือประตูกันไฟนั้นจะไหม้ไฟ ฉะนั้นควันไฟนั้นก็จะสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว จึงอาจะทำให้ผู้อยู่อาศัยไม่สามารถหลบหนีได้ทัน และหมดสติด้วยควันไฟ แม้กระทั่งไฟจะยังลามมาไม่ถึง การใช้ผนังกันไฟหรือประตูกันไฟจึงไร้ประโยชน์ หากไม่ได้ใช้ยาแนวกันไฟในการยาแนวรอยต่อ
ซิลิโคนกันไฟ หรือ อะคริลิคกันไฟ ใช้อันไหนดี?
การเลือกยาแนวกันไฟนั้นสิ่งที่ควรพิจารณาเป็นอันดับแรกคือ ความสามารถในการกันไฟ กาวยาแนวนั้นควรจะไม่ติดไฟ หรือหากติดไฟควรที่จะไม่ลามไฟ และขี้เถ้าที่ตกลงมาไม่ควรที่จะติดไฟ โดยกาวยาแนวกันไฟนั้นควรที่จะสามารถกันไฟได้อย่างน้อย 4 ชั่วโมง โดยมีมาตรฐานที่น่าเชื่อถือได้รองรับ เช่น มาตรฐาน BS476 และมาตรฐาน UL94 นอกจากนี้ควรมีสารระเหยที่อันตรายน้อย (Low VOCs) เพื่อความปลอดภัยหากต้องสูดระเหยที่ระเหยออกมาจากการเผาไหม้
ซิลิโคนกันไฟ คือ (Fire Rated Silicone Sealant / Fireproof Silicone Sealant)
ซิลิโคนนั้นเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติที่สามารถทนความร้อนได้สูง ในกาวซิลิโคนกันไฟจะมีการเติมสารหน่วงไฟ (Flame Retardants) เข้าไป เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการกันไฟ
กาวซิลิโคนกันไฟสามารถใช้ในงานภายนอกได้ ด้วยคุณสมบัติที่กาวซิลิโคนเป็นสารประกอบอนินทรีย์ที่มีความคงทนต่อสภาพแวดล้อม เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต จากแสงอาทิตย์ นอกจากนี้กาวซิลิโคนมีความยืดหยุ่นสูง จึงสามารถใช้ได้ในรอยต่อที่มีการขยับตัวสูง แต่กาวซิลิโคนจะไม่สามารถทาสีทับได้เนื่องจากมีผิวเรียบมัน และมีราคาที่สูงกว่ากาวอะคริลิค
อะคริลิคกันไฟ คือ (Fire Rated Acrylic Sealant / Fireproof Acrylic Sealant)
กาวอะคริลิคกันไฟลามและหน่วงไฟ มีคุณสมบัติพิเศษในการขยายตัวขณะไหม้ (Intumescent) ขยายเกิดเป็นถ่านชาร์ (Char) ปกคลุมผิวหน้าของยาแนวไว้ ซึ่งทำหน้าที่ลดการถ่ายเทความร้อนที่จะเข้าถึงเนื้อกาวยาแนว และลดการปล่อยแก๊สที่สามารถถูกเผาไหม้ง่าย (Combustible Gas) ออกไป เพื่อชลอการลามของไฟ
ด้วยคุณสมบัติของกาวอะคริลิคที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ ทำให้กาวอะคริลิคไม่ทนต่อแสงแดดและสภาพแวดล้อมภายนอก จึงเหมาะสมแก่การใช้ภายในอาคาร หรือการใช้ในงานภายนอกอาคารที่มีการทาสีทับเพื่อป้องกันเนื้อกาวจากรังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี แต่กาวอะคริลิคมีความสามารถการยืดหดและรับแรงที่ค่อนข้างต่ำ และมีราคาต่ำกว่ากาวซิลิโคน กาวอะคริลิคจึงถูกนิยมใช้ในงานภายในอาคาร ที่มีการขยับตัวต่ำ เช่น การใช้กาวอะคริลิคกันไฟยาแนวบริเวณท่อดักส์ และการใช้อะคริลิคกันไฟยาแนวระหว่างกรอบประตูกันไฟ
หากใช้กาวอะคริลิคกันไฟในรอยต่อที่มีการขยับตัวมาก กาวอะคริลิคกันไฟอาจเกิดรอยแตกร้าวและหลุดร่อน ทำให้เมื่อเกิดอัคคีภัย ควันไฟที่เป็นสาเหตุการตายหลักของการเกิดอัคคีภัย จึงอาจหลุดลอดมาตามรอยต่อได้ และทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัยได้ ทั้งๆไฟยังลามมาไม่บริเวณนั้นๆ
ลักษณะพิเศษของอะคริลิคกันไฟลามและหน่วงไฟ
- กันไฟลามได้นาน 4 ชั่วโมง ตามมาตรฐาน BS 476 Part 20
- ผ่านการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยของการติดไฟ UL 94 V-0
- ปราศจากฮาโลเจน ไอโซไซยาเนต แอสเบสตอส โลหะหนัก พทาเลท และสารระเหยที่เป็นอันตราย
- ใช้เป็นฉนวนอะคูสติกลดเสียงรบกวน
มาตรฐาน
- BS 476 Part 20
- UL 94 Flammability Class V-0
- Low VOCs
การใช้งาน
แอดซีล 765 ไฟร์ปรูฟ เป็นกาวอะคริลิคสูตรน้ำกันไฟลามและหน่วงไฟ ด้วยคุณสมบัติเฉพาะของกาวที่จะขยายตัวขณะไฟไหม้ ช่วยป้องกันไม่ให้ไฟลามได้นานถึง 4 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับการออกแบบรอยต่อและชนิดของวัสดุ) เหมาะสำหรับการยาแนวกันไฟและหน่วงไฟรอยต่อในงานก่อสร้าง เช่น รอยต่อผนังและบล็อกคอนกรีต ผนังกันไฟ กรอบประตูกันไฟ พลาสเตอร์บอร์ดกันไฟ ไฟเบอร์ซีเมนต์กันไฟ รอยต่อแนวเจาะ ตะเข็บท่อ กรอบหน้าต่างและประตู ท่อเหล็กและทองแดง ระบบสายเคเบิ้ล ท่อดักท์ สามารถใช้เป็นฉนวนอะคูสติกเพื่อลดเสียงรบกวน ยึดเกาะที่ดีเยี่ยมกับวัสดุหลากหลายชนิดในงานก่อสร้างโดยไม่ต้องใช้สารรองพื้น เช่น คอนกรีต เหล็ก ไฟเบอร์ซีเมนต์ ไม้ พลาสติก และอิฐ
ลักษณะพิเศษ
- กันไฟลามได้นานมากกว่า 4 ชั่วโมง ตามมาตรฐาน BS 476 Part 20
- ผ่านการทดสอบมาตรฐานความปลอดภัยของการติดไฟ UL 94 V-0
- รองรับการขยับตัวได้สูงในงานซีลรอยต่อทั่วไป
- ไม่ต้องใช้สารรองพื้น การยึดติดดี ไม่ไหลย้อย
- ใช้งานทั้งภายในและภายนอก
มาตรฐาน
- BS 476 Part 20
- UL 94 Flammability Class V-0
- Low VOCs
การใช้งาน
แอดซีล ซิลิโคน ไฟร์ปรูฟ เป็นกาวซิลิโคนกันไฟลามและหน่วงไฟ คุณสมบัติเป็นกลาง มีสารหน่วงป้องกันไม่ให้ไฟลามได้นานมากกว่า 4 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับการออกแบบรอยต่อและชนิดของวัสดุ) ใช้ยาแนวเพื่อกันไฟและหน่วงไฟรอยต่อในงานก่อสร้างกับพื้นผิวที่มีรูพรุนและไม่มีรูพรุน เช่น รอยต่อผนังและบล็อกคอนกรีต ผนังกันไฟ กรอบประตูกันไฟ พลาสเตอร์บอร์ดกันไฟ ไฟเบอร์ซีเมนต์กันไฟ รอยต่อแนวเจาะระบบท่อต่างๆ งานระบบท่อดักท์ งานระบบสายเคเบิ้ล กรอบหน้าต่างและประตู เป็นต้น สามารถยึดเกาะ บนวัสดุทั่วไปในงานก่อสร้างโดยไม่ต้องใช้สารรองพื้น