บทความ & ความรู้ทั่วไป

ความแตกต่างระหว่างซิลิโคน และโพลียูรีเทน (กาวพียู) คืออะไร

ความแตกต่างระหว่างซิลิโคน และโพลียูรีเทน

กาวซิลิโคนและกาวโพลียูรีเทน (กาวพียู) แตกต่างกันอย่างไร

กาวยาแนว หรือ Sealant คือวัสดุอุดแนวรอยต่อระหว่าง 2 วัสดุซึ่งอาจเหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้ เพื่อป้องกันการซึมผ่านของน้ำ แก๊ส และฝุ่น และรองรับการขยับตัวของรอยต่อ กาวยาแนว 2 ประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ กาวซิลิโคน และกาวโพลียูรีเทนหรือกาวพียู กาวยาแนวทั้งสองประเภทมีความยืดหยุ่นและรองรับการยืดหดตัวได้ถึง 25-50 เปอร์เซ็นต์ แต่กาวทั้งสองประเภทมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันทำให้เหมาะแก่การใช้งานที่ต่างกันออกไป ความแตกต่างระหว่างซิลิโคน และโพลียูรีเทน (กาวพียู) ได้แก่

คุณสมบัติทางเคมี

กาวซิลิโคน เป็นสารประกอบอนินทรีย์ ประกอบด้วยซิลิคอนและออกซิเจน เป็นองค์ประกอบหลัก มีโครงสร้างสันหลัง (Backbone) เป็นซิลิคอนจับกับออกซิเจน (Si-O-Si) ซึ่งมีพลังงานพันธะ (Bond Energy) หรือพลังงานที่ต้องใช้ในการสร้างหรือทำลายพันธะเท่ากับ 106 kcal/mol ซึ่งมีค่ามากกว่าค่าพลังงานพันธะของกาวโพลียูรีเทนที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีโครงสร้างสันหลังเป็นคาร์บอน (C-C / ค่าพลังงานพันธะเท่ากับ 85 kcal/mol) ทำให้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากแสงอาทิตย์

กาวโพลียูรีเทน เป็นสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วยไนโตรเจน คาร์บอน และออกซิเจนเป็นองค์ประกอบหลัก จึงทนรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์ ได้น้อยกว่ากาวซิลิโคน และอาจมีการเปลี่ยนสีของเนื้อกาวจึงมักจะมีการทาสีทับ หรือมีสารเคลือบเซรามิกป้องกันในกรณีกระจกรถ

ความแตกต่างระหว่าง กาวซิลิโคน และ กาวโพลียูรีเทน (กาวพียู)

คุณสมบัติทางกายภาพ

กาวโพลียูรีเทนมีความแข็งแรง เหนียว แน่น มากกว่ากาวซิลิโคน มีลักษณะคล้ายยาง ทำให้เกิดการฉีกขาดได้ยากกว่ากาวซิลิโคน กาวโพลียูรีเทนจึงถูกนำมาใช้ในงานที่ต้องการความแข็งแรงสูง เช่น การติดกระจกหน้าของรถยนต์กับโครงรถยนต์ ติดตัวถังรถบรรทุก และยาแนววัสดุที่มีรูพรุนเพราะไม่เกิดคราบรอยเปื้อนจากออยล์ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวจากกาวซิลิโคน นอกจากนี้กาวโพลียูรีเทนมีพื้นผิวด้านทำให้สามารถทาสีทับได้ ในทางกลับกันกาวซิลิโคนมีพื้นผิวเรียบลื่น และมีส่วนผสมที่เป็นออยล์ ทำให้ไม่สามารถทาสีทับได้ และเกิดคราบรอยเปื้อนบนวัสดุที่มีรูพรุนได้

อายุการใช้งาน

เนื่องจากโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกันของกาวทั้งสองประเภททำให้มีอายุการใช้งานที่ต่างกัน โดยกาวโพลียูรีเทนจะมีอายุเฉลี่ย 10 ปีหากใช้งานภายนอกอาคารหรือไม่ได้มีการทาสีทับ แต่ถ้าใช้ภายในอาคาร หรือไม่ได้สัมผัสกับแสงแดดโดยตรง อายุการใช้งานก็จะสูงมากกว่า 20 ปี โดยขึ้นอยู่กับปริมาณของแสงแดดและอุณหภูมิในสถานที่นั้นๆ ส่วนกาวซิลิโคนคุณภาพสูง จะมีอายุการใช้งานเฉลี่ยอย่างน้อย 20 ปี ถ้าใช้งานตามคุณสมบัติของเกรดซิลิโคนนั้นๆ และไม่มีการฉีกขาดที่รุนแรงเกิดขึ้น

ราคา

ทั้งกาวซิลิโคน และโพลียูเรเทน ที่ถือว่าเป็นกาวคุณภาพสูง (เกรดคุณภาพสูง และเกรด 100%) กาวซิลิโคนจะมีอายุการใช้งานที่นานกว่ากาวโพลียูรีเทน แต่ทั้งนี้กาวซิลิโคนก็มีราคาที่สูงกว่ากาวโพลียูรีเทนด้วยเช่นกัน ฉะนั้นผู้ใช้งานจะต้องคำนึงถึงลักษณะงาน วัสดุที่ต้องการนำไปใช้งาน อายุการใช้งาน และค่าแรงงานประกอบกันกับงบประมาณ

ทั้งนี้การเลือกวัสดุยาแนวควรเลือกให้ตรงกับการใช้งานนั้นสำคัญที่สุด เนื่องจาก ความแตกต่างระหว่างซิลิโคน และโพลียูรีเทน (กาวพียู) ต้องการคำปรึกษาด้านกาวจาก Adhesive and Sealant Specialist ติดต่อแอดฮีซีล

บทความอื่น

ซิลิโคนกันเชิ้อรา และแบคทีเรีย ห้องเย็น ห้องคลีนรูม ไลน์ผลิตอาหาร แช่แข็ง
ซิลิโคน กันเชื้อรา และแบคทีเรีย แอดซีล 6เอส เอ็กซ์ตร้า (AdSeal 6S Extra) เป็นวัสดุที่มีความสำคัญมากในงาน...
เว็บไซต์ของ บริษัท แอดฮีซีล จำกัด มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่บริษัทฯจัดเก็บ วัตถุประสงค์ในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ ของบริษัทฯ