Knowledge

Precast Concrete คือ ? ข้อดี ข้อเสีย ของการเลือกนำมาใช้งานมีอะไรบ้าง

Precast Concrete คือ

ทุกวิธีการก่อสร้าง มีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับการก่อสร้างโดยใช้พรีคาสท์คอนกรีต ในการก่อสร้าง ที่กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะนำไปใช้ในการสร้างบ้านขนาดเล็กๆ จนไปถึงอาคารขนาดใหญ่ หรือแม้กระทั่งสะพานสูงๆ การรู้ข้อดีและข้อเสียของ Precast Concrete คือ อะไรก็เป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อย

พรีคาสท์คอนกรีต หรือ Precast Concrete คือ คอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ถูกหล่อขึ้นก่อนในโรงงาน ให้มีรูปร่างตามที่ต้องการ ก่อนที่จะถูกขนส่งและนำไปประกอบกันที่ไซต์งาน คอนกรีตนั้นจะถูกเทลงในแม่พิมพ์ และเสริมความแข็งแรงด้านในด้วยเหล็กเส้น โดยในการแข็งตัวของคอนกรีตจะถูกควบคุมให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม และมีการควบคุมคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ ทำให้พรีคาสท์คอนกรีตนั้นมีความแข็งแรงและมีคุณภาพสูงกว่าการหล่อคอนกรีตที่หน้างาน

ข้อดีของ Precast Concrete

  • ประหยัดเวลาในการก่อสร้าง

    ด้วยการที่คอนกรีตมาในรูปแบบที่พร้อมประกอบและใช้งาน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการสร้างแม่พิมพ์ การเทคอนกรีต และการรอให้คอนกรีตแห้งตัวที่หน้างาน ทำให้สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้ทันที

 

  • มีมาตรฐาน

พรีคาสท์คอนกรีตถูกหล่อขึ้นมาโดยใช้แม่พิมพ์ชิ้นเดิมซ้ำๆ ทำให้พรีคาสท์แบบเดียวกันที่ออกมาจากโรงงานเดียวกัน มีรูปร่างและขนาดสม่ำเสมอ เนื่องจากควบคุมคุณภาพได้ง่าย

  • มีคุณภาพสูง

    ก่อนพรีคาสท์คอนกรีตจะออกจากโรงงานไปยังไซต์งานได้ จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพอย่างละเอียด ไม่ให้มีข้อบกพร่อง ทั้งนี้ยังมีกระบวนการผลิตที่เคร่งครัด และการควบคุมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ระหว่างการผลิต ทำให้พรีคาสท์คอนกรีตมีความแข็งแรงทนทานมากกว่าคอนกรีตชนิดอื่นๆ

Precast Concrete การผลิต
  • เป็นทางเลือกประหยัด

    การใช้พรีคาสท์คอนกรีตยังเป็นทางเลือกที่ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า ข้อนี้ถือเป็นจุดเด่นที่สุดของพรีคาสท์คอนกรีตเลยก็ว่าได้ เนื่องจากการผลิตเป็นการผลิตทีละจำนวนมากๆ ทำให้มีราคาถูก แถมยังลดค่าแรง และลดระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างอีกด้วย

 

  • คงทนแข็งแรง

    อาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่ถูกสร้างด้วยพรีคาสท์คอนกรีตจะมีความแข็งแรงมากกว่าบ้านที่สร้างด้วยวิธีการอื่น เพราะมีการเสริมเหล็กด้านใน และมีการควบคุมคุณภาพที่ดี ทำให้มีอายุการใชช้งานยาวนานกว่า และลดการดูแลรักษาซ่อมแซมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

 

  • ใช้พื้นที่เก็บวัสดุก่อสร้างที่หน้างานน้อย

    เนื่องจากคอนกรีตถูกหล่อมาสำเร็จเรียบร้อยจากโรงงานแล้ว ทำให้ไม่ต้องมีการเก็บวัสดุก่อสร้างอื่นๆที่หน้างาน และยังทำให้หน้างานเป็นสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยมากขึ้นอีกด้วย

 

ข้อเสีย Precast Concrete

ถึงแม้จากบทความข้างต้น จะเห็นว่าพรีคาสท์คอนกรีตมีข้อดีมากมายหลายข้อ แต่จริงๆแล้วการทำงานกับพรีคาสท์คอนกรีตก็มีความยากลำบาก และมีข้อเสียเช่นกัน

  • การขนส่ง

    เนื่องจากพรีคาสท์คอนกรีตมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก ในการขนย้ายพรีคาสท์คอนกรีตจากโรงงานไปยังหน้างานจึงเป็นเรื่องยาก ต้องใช้รถยก รถบรรทุกหรือรถพ่วงขนาดใหญ่ และด้วยน้ำหนักที่มากอาจทำให้รถบรรทุกที่ขนย้ายพรีคาสท์คอนกรีตเสียหายหรือชำรุดได้ และต้องมีการยึดพรีคาสท์คอนกรีตอย่างแน่นหนาเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างการขนส่ง

Precast Concrete Transportation
  • การติดตั้งก่อสร้าง


    ในการติดตั้งที่หน้างาน มักจำเป็นต้องใช้เครนในการเคลื่อนย้าย ทั้งนี้จึงต้องมีการวางแผนงานล่วงหน้าในการเช่าเครน
Precast Concrete Crane
  • ยากที่จะแก้ไข ดัดแปลง

    การดัดแปลงแก้ไขพรีคาสท์คอนกรีตถือเป็นเรื่องยากเพราะโครงสร้างมีการเสริมเหล็ก ยากต่อการดัดแปลงทั้งขณะก่อสร้างและหลังก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย สำหรับท่านใดที่ต้องการซื้อบ้านแล้วต้องการดัดแปลงบ้านเยอะๆ เช่น การเจาะประตู เจาะหน้าต่างหลายๆจุด อาจจะต้องเลือกบ้านที่ก่อสร้างด้วยวัสดุชนิดอื่น เช่น อิฐมวลเบาแทน

 

  • มีรอยต่อจำนวนมาก

    ในการก่อสร้างโดยใช้พรีคาสท์คอนกรีตที่เป็นคอนกรีตชิ้นใหญ่ๆมาต่อกัน จำเป็นจะต้องมีรอยต่อในกรณีคอนกรีตขยายหรือหดตัวเมื่อเจอกับสภาพอากาศต่างๆ และไม่ให้คอนกรีตแตก ซึ่งรอยต่อนี้หากได้รับการปิดรอยต่อ หรือยาแนวที่ไม่ดี อาจทำให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมได้ในอนาคต และยังเป็นบริเวณที่อ่อนไหวในกรณีเกิดแผ่นดินไหวขึ้น

 

สำหรับการยาแนวระหว่างแผ่นรอยต่อของพรีคาสท์คอนกรีต เพื่อไม่ให้เกิดรอยแตก ควรยาแนวปิดรอยต่อด้วยวัสดุยาแนวที่มีความยืดหยุ่น แต่แข็งแรง และทนต่อความชื้น เช่น SEAGARD P11 HM PLUS

SEAGARD P11 HM PLUS 

ซีการ์ด พี11 เอชเอ็ม พลัส

  • มีความยึดหยุ่นสูงกว่ากาวอีพ็อกซี่ทั่วไป

  • มีความแข็งแรงสูง ทนต่อความชื้น และสารเคมี

  • ปราศจากตัวทำละลาย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  • หดตัวน้อย ทำงานได้ทั้งแนวราบและแนวดิ่ง

  • ผสมง่ายด้วยอัตราส่วนผสม 1:1

  • ASTM C881-90, Type I Grade 3 Class B+C

 

ซีการ์ด พี11 เอชเอ็ม พลัส เป็นกาวอีพ็อกซี่ ชนิด 2 ส่วนประกอบ ไม่มีตัวทำละลาย เหมาะสำหรับยึดรอยต่อและเติมเต็มช่องว่างขนาดใหญ่ที่ต้องการความแข็งแรงสูง ใช้ยาแนวประสานรอยต่อ และซ่อมแซมความเสียหายของวัสดุในงานก่อสร้าง คอนกรีต ปูนฉาบ ไฟเบอร์ซีเมนต์ สามารถใช้เพื่อติดตั้งแผ่นกระเบื้องกับวัสดุที่เหมือนกันและต่างกัน เช่น ไม้จริง ไม้เทียม เซรามิก หิน หินอ่อน แกรนนิต หินตกแต่ง แผ่น GRP และแผ่นวัสดุที่มีความแข็งอื่นๆ ใช้ยึดติดสกรู น็อต เครื่องมือ สามารถขัดแต่งด้วยกระดาษทราย และทาสีทับได้เมื่อกาวแห้งตัวเต็มที่

 

Share post :

เว็บไซต์ของ บริษัท แอดฮีซีล จำกัด มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่บริษัทฯจัดเก็บ วัตถุประสงค์ในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ ของบริษัทฯ