Knowledge

Internet of Things : IoT คือ อะไร กับตัวอย่าง IoT ในชีวิตประจำวัน

Internet of Things IoT คือ

ทุกคนคงเคยได้ยินกันอย่างคุ้นหูว่า IoT นั้นมันดีแค่ไหน มีความสามารถที่จะเปลี่ยนชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ได้อย่างสิ้นเชิง จากการบังคับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านผ่านโทรศัพย์มือถือ ไปจนถือการสั่งการให้เครื่องจักรในโรงงานทำงานอัตโนมัติ แต่จริงๆแล้ว Internet of Things หรือ IoT คือ อะไรกันแน่ มาติดตามชมกัน

Internet of Things หรือ IoT คือ โครงข่ายของสิ่งของ ที่ถูกเชื่อมต่อกันผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อที่จะส่งข้อมูลสื่อสารระหว่างกันผ่านทางโครงข่ายอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องใช้กำลังคนในการสื่อสาร

โดยคำว่า Things หรือสิ่งของในคำว่า Internet of Things สามารถเป็นได้หลากหลายอย่างมาก จากคนที่มีการฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไว้ เช่น ฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ เครื่องช่วยฟัง เป็นต้น สัตว์เลี้ยงหรือ สัตว์ภายในฟาร์มที่ถูกฝังชิปในการติดตาม รถยนต์ที่มีเซนเซอร์ในการตรวจจับลมยาง เพื่อทำการเตือนผู้ขับขี่เมื่อเกิดปัญหา หรืออุปกรณ์ใดๆก็ตามที่สามารถเชื่อมต่อและสื่อสารผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้

โดย Things หรือสิ่งของที่เชื่อมต่อกันใน Internet of Things สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ

  • สิ่งของที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล และส่งข้อมูล

  • สิ่งของที่รับข้อมูล และตอบสนองต่อข้อมูลนั้น

  • สิ่งของที่ทำได้ทั้ง 2 ประการ

อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล และส่งข้อมูล

สิ่งที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล และส่งข้อมูลนั้น ก็คือเซนเซอร์ (Sensor) นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น เซนเซอร์วัดอุณหภูมิ (Temperature Sensor) เซนเซอร์จับความเคลื่อนไหว (Motion Sensor) เซนเซอร์ความชื้น (Moisture Sensor) เซนเซอร์วัดคุณภาพอากาศ (Air Quality Sensor) และอีกมากมาย เมื่อเซนเซอร์นี้ทำการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำให้เซนเซอร์สามารถวัดค่าได้อย่างอัตโนมัติ และเราสามารถใช้ค่านั้นให้เกิดประโยชน์ได้

ยกตัวอย่างเช่น ในฟาร์ม การทราบค่าความชื้นของดิน จะทำให้ชาวไร่ชาวนาสามารถทราบว่าควรจะรดร้ำตอนไหนได้อย่างแม่นยำ โดยใช้เซนเซอร์วัดความชื้นภายในดิน แทนที่จะรดน้ำให้มากกว่าความต้องการของต้นไม้เอาไว้ก่อน ซึ่งจะทำให้เสียทรัพยากรน้ำและค่าใช้จ่ายอย่างสิ้นเปลือง หรือรดน้ำน้อยกว่าที่ต้นไม้ต้องการ ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตน้อย หรือสูญเสียผลผลิตได้ ทำให้ชาวไร่ชาวนาสามารถลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มผลผลิตได้

อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล และตอบสนองต่อข้อมูล

เราทุกคนคงคุ้นชินกับอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล และตอบสนองต่อข้อมูลกันอยู่แล้ว เช่น การที่รถยนต์รับสัญญาณจากกุญแจรถเมื่อเรากดปลดล็อค เราก็จะสามารถเปิดประตูรถได้ หรือการที่เครื่องพิมพ์เอกสารรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ แล้วก็พิมพ์เอกสารออกมา

สำหรับ IoT ข้อมูลคำสั่งอาจจะง่ายมากๆอย่างการสั่งให้เปิดหรือปิดอุปกรณ์ ไปจนถึงคำสั่งยากๆ เช่น การสั่งปริ้นโมเดลสามมิติ ไปยังเครื่องพิมพ์สามมิติ (3D Printer) แต่พลังของ IoT นั้นอยู่ที่การทำให้ตัวอย่างที่ยกมาทั้งหมดข้างต้น สามารถทำได้จากระยะทางที่ไกลกันมากๆ

พลังของที่แท้จริงของ IoT คือ เมื่ออุปกรณ์ในระบบนั้นสามารถทำได้ทั้ง 2 ข้อที่กล่าวมาทางด้านบน คือ มีอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง แล้วส่งไปให้อีกอุปกร์หนึ่งที่จะรับข้อมูล และตอบสนองต่อคำสั่งนั้น

อุปกรณ์สิ่งของที่ทำได้ทั้ง 2 ประการ

จากตัวอย่างเกี่ยวกับฟาร์ม หากอุปกรณ์สามารถทำได้แค่การเก็บข้อมูลและการส่งข้อมูล ก็ยังต้องพึ่งพาชาวไร่ชาวนาในการออกไปรดน้ำด้วยตนเอง แต่หากมีอุปกรณ์ที่สามารถรับข้อมูลมาแล้วตอบสนองได้เลย ให้ทำการรดน้ำในปริมาณที่เหมาะสมอย่างอัตโนมัติได้ อย่างการสั่งการให้สปริงเกอร์ทำงานอย่างอัตโนมัติ ก็จะมิต้องพึ่งพาแรงของชาวไร่ชาวนาอีกเลย

Smart Farm IoT คือ Internet of Things

Share post :

เว็บไซต์ของ บริษัท แอดฮีซีล จำกัด มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่บริษัทฯจัดเก็บ วัตถุประสงค์ในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ ของบริษัทฯ