บทความ & ความรู้ทั่วไป

รอยแตกร้าว บนผนัง ผนังแตกร้าว ซ่อมอย่างไรดี?

ผนังแตกร้าว รอยแตกร้าว

เพื่อนคงคุ้นชินกับการเห็นรอยแตกร้าวตามผนังและเสาในบ้านกันอย่างแน่นอน แต่มักไม่ได้กังวลกับรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นเพราะไม่คิดว่ารอยร้าวจะมีกระทบต่อโครงสร้าง ไม่ได้คิดว่ารอยร้าวจะลามและมีขนาดใหญ่ขึ้น วันนี้แอดฮีซีลมีวิธีการสังเกตรอยแตกร้าวภายในบ้าน ว่ารอยแตกแบบนี้อันตรายหรือไม่ เป็นเพียงแค่สีฉาบอยู่ด้านนอกที่แตก หรือเป็นรอยแตกที่อาจมีผลกระทบต่อโครงสร้างในอนาคตได้

รอยผนังแตกร้าว แบบไหนที่เรียกว่าอันตราย?

1. รอยแตกร้าว ในแนวดิ่งบริเวณกลางผนัง หรือต่อลงมาจากคานด้านบน

ผนังแตกร้าว ในแนวดิ่ง

รอยแตกร้าวในแนวดิ่งลักษณะนี้ เกิดจากการที่ผนังได้รับน้ำหนักมาจากด้านบนมาก เช่น การวางของหนัก การวางแท้งน้ำเอาไว้ด้านบนโดยมิได้ออกแบบไว้ เป็นต้น จนคานทางด้านบนไม่สามารถรับน้ำหนักได้ แล้วงอเป็นรูปตัวยู (U) กดให้ผนังด้านล่างแตกเป็นแนวดิ่ง ซึ่งรอยแตกลักษณะนี้มีความอันตราย

2. รอยแตกร้าว ในแนวเฉียงเป็น 45 องศา จากมุมของผนังหรือจากมุมเสา

ผนังแตกร้าว รอยร้าวเฉียง

รอยแตกร้าวในแนวเฉียง จากมุมบนลงล่างที่มีขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ มักเกิดจากการทรุดตัวของเสาแต่ละต้นที่ไม่เท่ากัน โดยสาเหตุมักมาจากการต่อเติมบ้านที่ไม่ถูกหลักวิศวกร ทำให้เสาบางต้นได้รับน้ำหนักมากกว่าเสาต้นอื่นและไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้ จึงเกิดการทรุดตัว รอยแตกลักษณะนี้มีความอันตรายต่อโครงสร้างเช่นกัน

3. รอยแตกร้าวเฉียง 45 องศาจากขอบของหน้าต่าง

รอยแตกร้าว เฉียง บนผนัง
รอยแตกร้าวจากมุมวงกบ

รอยร้าวที่มีลักษณะเฉียง ทำมุม 45 องศา โดยอาจมีรอยร้าวหลายรอยในทิศทางเดียวกัน รอยร้าวลักษณะนี้มีความอันตรายต่อโครงสร้าง แต่หากรอยแตกร้าวแตกออกมาจากมุมวงกบของประตูหรือหน้าต่าง หรือทำมุมในทิศทางที่ต่างกัน จะเกิดจากการยืดหดและขยายตัวของวงกบ ทำให้ผนังเกิดการแตกร้าว ไม่ได้เกิดจากความผิดพลาดของโครงสร้างและไม่ทำให้เกิดอันตราย

4. รอยแตกร้าวบริเวณท้องคาน เป็นรูปตัวยู (U)

รอยแตกร้าว ตัวยู ใต้คาน

รอยร้าวบริเวณคานนั้น มักเกิดจากการรับน้ำหนักมากเกินไป จนทำให้คานโค้งงอ แล้วทำให้คอนกรีตปริออกมา แล้วแตกออกมาเป็นรอยร้าว นอกจากนี้อาจเกิดจากการมีน้ำรั่วซึมมาจากด้านบน และซึมเข้าไปในคอนกรีต ทำให้โครงโลหะ หรือเหล็กด้านในขึ้นสนิมจนเสื่อมสภาพ จนไม่สามารถรับน้ำหนักได้

ทั้งนี้หากพบรอยแตกในลักษณะดังกล่าว หรือไม่มั่นใจ ควรปรึกษาผู้เชียวชาญ หรือสถาปนิก เพื่อทำการตรวจสอบและทำการซ่อมแซมโดยเร็ว นอกจากนี้หากรอยแตกร้าวไม่ลึก เป็นเพียงแค่รอยแตกลายงา โดยมีลักษณะคล้ายกิ่งไม้ แตกแขนงและขยายไปอย่างกิ่งไม้ โดยรอยแตกร้าวแบบนี้ไม่มีอันตรายต่อโครงสร้าง แต่เพียงอาจจะทำให้เกิดการรั่วซึมของน้ำเข้ามาตามรอยแตก

วิธีซ่อมรอยร้าวแตกลายงา

ฉาบรอยแตกขนาดเล็ก ด้วยกาวยาแนวอะคริลิคอเนกประสงค์ NCRYL1 FASTCURE
NCRYL1 FASTCURE (เอ็นคริล วัน ฟาสท์เคียว)

NCRYL1 อะคลิริค รอยแตกร้าว

อ็นคริล วัน ฟาสท์เคียว กาวอะคริลิคสูตรน้ำ สำหรับยาแนวรอยต่อช่องว่างทั่วไปในงานก่อสร้างเพื่อป้องกันฝุ่นและความชื้น ซ่อมรอยแตกร้าว งานซ่อมแซมทั่วไป ตลอดจนงานอุตสาหกรรม เช่น ยาแนวรอบๆ อ่างล้างมือ อ่างอาบน้ำ ยาแนวรอยต่อเล็กๆ ของหน้าต่าง ขอบประตู ผนัง ท่อ ช่องอากาศ รอยต่อกระเบื้องเซรามิค ขอบไม้ และตัวถังยานยนต์ ยึดติดดีบนวัสดุทั่วไป เช่น อิฐ ไม้ คอนกรีต แผ่นพลาสเตอร์ ไฟเบอร์ซีเมนต์ แผ่นซีเมนต์ กระเบื้องเซรามิค กระจก อลูมิเนียม และโลหะ ทาสีได้หลังแห้งตัวด้วยสีน้ำประเภทอะคริลิคที่ใช้ทาอาคารทั่วไป

อุดรอยต่อที่มีขนาดใหญ่ และมีการขยับตัว ด้วยกาวโพลียูรีเทน (กาวพียู) ความแข็งแรงสูง Bondflex PU25

วิธีซ่อมรอยแตกร้าวขนาดใหญ่ด้วยกาวโพลียูรีเทน : ข้อ 5

Bondflex PU25 (บอนด์เฟล็กซ์ พียู 25)

บอนด์เฟล็กซ์ พียู 25 เป็นกาวยาแนวโพลียูรีเทน ที่มีความยืดหยุ่น ยึดเกาะตัวได้ดีบนพื้นผิวเกือบทุกชนิดในงานก่อสร้างโดยไม่ต้องการวัสดุรองพื้นเมื่อใช้กับคอนกรีต อลูมิเนียมและกระจก เหมาะกับการยาแนวรอยต่อแบบมาตรฐาน แนวรอยต่อแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป แผ่นวัสดุสำเร็จรูป คานสะพาน ทางใต้ดิน เฉลียง รอยต่อหน้าต่าง-ประตูอลูมิเนียม ไม้และพีวีซี รอยต่อระหว่างพื้นและผนัง กล่องประตูชัตเตอร์ ตู้คอนเทรนเนอร์ บ้านเคลื่อนที่ การต่อเรือ ระบบทำความเย็น ห้องควบคุมสิ่งแวดล้อม เช่น ห้องผ่าตัด ห้องปลอดเชื้อ ยาแนวไม้ ไฟเบอร์กลาส PVC กระเบื้องเซรามิค ชิ้นส่วนโลหะ ใช้ยึดติดและยาแนวระหว่างวัสดุต่างชนิดบนพื้นผิวที่หลากหลาย เช่น คอนกรีต อลูมิเนียม พีวีซี อิฐ ไม้ กระเบื้องเซรามิค คอมแพคลามิเนท วัสดุประเภทหินธรรมชาติและหินเทียม เหล็กกล้า เป็นต้น รวมทั้งการประยุกต์ใช้งานตามมาตรฐาน SNJF ของฝรั่งเศส สามารถทาสีทับได้หลังจากกาวแห้งตัวเต็มที่

ทากันซึมบริเวณรอยแตกร้าว ด้วยอะคริลิคกันซึมสูตรน้ำคุณภาพสูง ด้วย AdSeal RoofSeal 111

AdSeal RoofSeal 111 (แอดซีล รูฟซีล 111)

กันซึมหลังคา Roofseal

แอดซีล รูฟซีล 111 เป็นวัสดุเคลือบหรือทากันซึมและปิดรอยแตกร้าว ประเภทอะคริลิกสูตรน้ำที่มีคุณภาพสูง มีสารป้องกันการเกิดเชื้อราไม่มีส่วนประกอบของสารระเหยและสารพทาเลท ให้ความยืดหยุ่นมากเป็นพิเศษ ทนต่อการยืดหดตัว ทนต่อแสงยูวี สะท้อนความร้อนได้ดีจึงทำหน้าที่เป็นฉนวนที่ดี ให้ผิวเรียบสวย ใช้ทากันรั่วซึมผนัง หลังคา และดาดฟ้า ใช้ตกแต่งพื้นผิวปูนก่อนฉาบปูนเพื่อเน้นปิดรอยแตกร้าว ใช้ทาเคลือบพื้นวัสดุ เช่น คอนกรีต ปูนฉาบและปูนเทปรับะดับ อิฐบล็อค อิฐมอญ กระเบื้องมุงหลังคา แผ่นไฟเบอร์ซิเมนต์ กระเบื้องใยหิน เหล็ก สังกะสี โลหะทั่วไป ไม้ แผ่นไม้เทียม ไม่ต้องรองพื้นในกรณีที่พื้นวัสดุอยู่ในสภาพที่ดี เรียบ แห้งและไม่มีรูพรุนมากหรือขนาดใหญ่ เพราะผลิตภัณฑ์นี้มีส่วนผสมของสารที่มีการแทรกซึมตัวและมีการยึดเกาะที่ดี

เก็บรอบแตกที่มีขนาดใหญ่ แล้วขัดให้เรียบ ด้วยอะคริลิคประสานรอยต่อ Seagard P11 HM Plus

Seagard P11 HM Plus (ซีการ์ด พี11 เอชเอ็ม พลัส)

ซีการ์ด พี11 เอชเอ็ม พลัส เป็นกาวอีพ็อกซี่ ชนิด 2 ส่วนประกอบ ไม่มีตัวทำละลาย เหมาะสำหรับยึดรอยต่อและเติมเต็มช่องว่างขนาดใหญ่ที่ต้องการความแข็งแรงสูง ใช้ยาแนวประสานรอยต่อ และซ่อมแซมความเสียหายของวัสดุในงานก่อสร้าง คอนกรีต ปูนฉาบ ไฟเบอร์ซีเมนต์ สามารถใช้เพื่อติดตั้งแผ่นกระเบื้องกับวัสดุที่เหมือนกันและต่างกัน เช่น ไม้จริง ไม้เทียม เซรามิก หิน หินอ่อน แกรนนิต หินตกแต่ง แผ่น GRP และแผ่นวัสดุที่มีความแข็งอื่นๆ ใช้ยึดติดสกรู น็อต เครื่องมือ สามารถขัดแต่งด้วยกระดาษทราย และทาสีทับได้เมื่อกาวแห้งตัวเต็มที่

บทความอื่น

เว็บไซต์ของ บริษัท แอดฮีซีล จำกัด มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่บริษัทฯจัดเก็บ วัตถุประสงค์ในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ ของบริษัทฯ