ผนังเบา หรือ ผนังเบากั้นห้อง คือ
ผนังเบา เป็นผนังที่ก่อสร้างด้วยการติดตั้งวัสดุปิดผิวแผ่นใหญ่เข้ากับโครงคร่าว ทำให้มีน้ำหนักน้อยกว่าผนังก่ออิฐหรือผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก วัสดุที่ใช้ทำโครงคร่าว ได้แก่ โครงเหล็กชุบสังกะสี โครงเหล็กรูปพรรณ หรือโครงไม้เนื้อแข็ง ติดตั้งโดยใช้ตะปูหรือตะปูเกลียวเป็นตัวยึดวัสดุแผ่นใหญ่เข้ากับโครงคร่าว สำหรับการตกแต่งพื้นผิว สามารถทำได้หลายวิธี เช่น โป๊วรอยต่อด้วยอะคริลิคหรือพัตตี้ ฉาบด้วยปูนฉาบตกแต่งผิวบาง การทาสี ปูกระเบื้อง และติดวอลล์เปเปอร์
ข้อดีข้อเสียของ ผนังเบา
ข้อดีของผนังเบา
- การติดตั้งหรือรื้อถอนได้ง่าย และประหยัดเวลา
- มีน้ำหนักเบา ทำให้เคลื่อนย้ายและติดตั้งได้ง่าย
- ไม่จำเป็นต้องมีคานมารองรับ จึงง่ายในการต่อเติมเปลี่ยนแปลงห้องที่ทำในภายหลัง
- สามารถติดตั้งวางระบบไฟและน้ำได้ง่าย เนื่องจากผนังเบาหลายชนิดเป็นผนังกลวง เป็นโครง แล้วบุวัสดุผิวทับ
ข้อเสียของผนังเบา
- มีความแข็งแรงทนทานน้อยกว่าผนังแบบก่ออิฐ
- กันเสียงได้น้อยกว่าผนังแบบก่ออิฐ
- การป้องกันความร้อนน้อยกว่าผนังแบบก่ออิฐ
- รับน้ำหนักแขวนได้น้อย
- มักไม่ค่อยทนความชื้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการบวม ขาดยุ่ย และขึ้นราได้ง่าย
- บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นสามารถเกิดรอยแตกร้าวได้ง่าย
ผนังเบา : แผ่นยิปซัมบอร์ด (Gypsum Board)
ยิปซัมบอร์ด (Gypsum Board)
เป็นผนังที่ทำมาจากผงยิปซัมเผา และปิดทับด้านหน้าและด้านหลังด้วยกระดาษเหนียว เป็นผนังเบาที่มีน้ำหนักเบาที่สุด มีราคาถูก ทำงานง่าย สามารถตัดต่อได้ง่าย เก็บรอยต่อง่าย โป๊วทับได้เรียบเนียน รีไซเคิลง่าย ส่วนใหญ่มักนำไปปิดทับผิวผนังก่ออิฐอีกทีเพื่อให้ผิวเนียบเรียบ ติดตั้งง่ายและรวดเร็ว
ข้อเสีย คือ ไม่กันน้ำ (ยกเว้นบางสเปคที่สามารถกันความชื้นได้) จึงเหมาะสำหรับใช้ในงานภายใน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่กันปลวก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วปลวกจะไม่กินยิปซัม แต่ที่ปลวกกินยิปซัมบอร์ดนั้นเพราะปลวกกินวัสดุผิวหน้าของบอร์ดที่เป็นกระดาษ (ทำมาจากเซลลูโลส ซึ่งก็มีต้นกำเนิดมาจากไม้นั่นเอง) และมีความแข็งแรงน้อยที่สุด
มีขนาดเป็นขนาดมาตรฐาน ขนาดที่ถูกใช้กันบ่อย คือ ขนาด 120X240 เซนติเมตร มีความหนาตั้งแต่ 9 มิลลิเมตร ถึง 15 มิลลิเมตร ความหนาที่นิยมใช้ตามบ้านเรือน คือ ความหนา 9 มิลลิเมตร ในส่วนของราคาแผ่นยิปซัมบอร์ดจะอยู่ที่ประมาณ 140-300 บาท ขึ้นอยู่กับความหนาและยี่ห้อของแผ่นยิปซัมบอร์ด
แผ่นซีเมนต์บอร์ด (Cement Board) หรือ วีว่าบอร์ด (Viva Board)
ซีเมนต์บอร์ด (Cement Board) หรือที่ถูกเรียกกันอีกชื่อว่า วีว่าบอร์ด (Viva Board) ผลิตจากเศษไม้อัดผสมกับปูนซีเมนต์ แล้วนำไปอัดด้วยแรงดันสูงเพื่อขึ้นรูปเป็นแผ่น มีผิวเรียบเหมือนผิวซีเมนต์ สามารถทาสีทับได้เหมือนซีเมนต์ปกติ มีความแข็งแรงมากกว่ายิปซัมบอร์ด เป็นผนังเบาที่มีราคาสูงและหนักที่สุด
คุณสมบัติเด่น คือ กันน้ำ และกันปลวก ถึงแม้ภายในของซีเมนต์บอร์ดจะมีส่วนผสมของไม้ แต่เพราะบนผิวของบอร์ดเป็นเนื้อซีเมนต์จึงมีคุณสมบัติกันปลวก แต่ถ้าหากทำการตัดซีเมนต์บอร์ดแล้ว จะทำให้เห็นผิวเนื้อไม้ ทำให้ไม่สามารถกันปลวกได้ 100% มีความแข็งแรง สามารถใช้ทำผนัง ฝ้า และพื้นได้ขึ้นอยู่กับขนาดของโครงสร้างรองรับ
สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่การรีไซเคิลค่อนข้างยาก เก็บรอยต่อได้ยากกว่ารอยต่อของแผ่นยิปซัม มีโอกาสรอยต่อแตกได้ง่ายกว่า และมีราคาสูง
มีขนาดเป็นขนาดมาตรฐานเช่นกัน ขนาดที่ถูกใช้กันบ่อย คือ ขนาด 120X240 เซนติเมตร มีความหนาตั้งแต่ 8 มิลลิเมตร ถึง 24 มิลลิเมตร ในส่วนของราคาวีว่าหรือซีเมนต์บอร์ดจะอยู่ที่ประมาณ 300-800 บาท ขึ้นอยู่กับความหนาและยี่ห้อ
แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ (Fiber Cement Board)
ไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด (Fiber Cement Board) หรือที่มักถูกเรียกว่า สมาร์ทบอร์ด (Smartboard) ผนังเบา ที่มีลักษณะคล้ายซีเมนต์บอร์ด แต่ต่างกันที่ผสมด้วยเส้นใยไฟเบอร์ผสมกับซิลิกา ไม่มีส่วนผสมของไม้
คุณสมบัติเด่น คือ สามารถดัดโค้งได้ตามการใช้งาน เพราะทั้งมีความยืดหยุ่นและเหนียวจากไฟเบอร์ด้านในบอร์ด และมีความบางกว่า กันปลวก เพราะไม่มีทั้งส่วนประกอบของไม้และกระดาษ ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รีไซเคิลง่าย สามารถใช้งานได้ทั้งเป็นฝ้า ผนัง และพื้น ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคนที่ไม่ติดปัญหาเรื่องงบประมาณ แต่เก็บรอยต่อได้ยากกว่ารอยต่อของแผ่นยิปซัม มีโอกาสรอยต่อแตกได้ง่ายกว่า
ด้วยความที่เส้นใยไฟเบอร์ในไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ดมีความเหนียวมากกว่าเศษไม้ในซีเมนต์บอร์ด ทำให้สามารถผลิตได้บางกว่า มีความหนาเริ่มต้นตั้งแต่ 3.5 มิลลิเมตร ถึง 18 มิลลิเมตร มีขนาดมาตรฐานคือ 120X240 เซนติเมตร มีราคาอยู่ที่ประมาณแผ่นละ 100-800 บาทขึ้นอยู่กับความหนา
สำหรับ หนังเบา ที่แผ่นที่มีความบางมากๆ เช่น ความหนา 3.5 มิลลิเมตร อาจมีปัญหาในการติดตั้งเล็กน้อย หากยิงสกรูด้วยแรงมากเกินไป สกรูอาจจะทะลุได้ แล้วไม่สามารถผังหัวสกรูและโป๊วด้วยอะคริลิคแล้วทาสีทับได้ ในกรณีต้องการฝังหัวอาจเลือกแผ่นที่มีความหนามากขึ้นเช่น 8-9 มิลลิเมตรขึ้นไป
ผนังเบา หรือ ผนังเบากั้นห้อง คือ
ผนังเบา เป็นผนังที่ก่อสร้างด้วยการติดตั้งวัสดุปิดผิวแผ่นใหญ่เข้ากับโครงคร่าว ทำให้มีน้ำหนักน้อยกว่าผนังก่ออิฐหรือผนังคอนกรีตเสริมเหล็ก วัสดุที่ใช้ทำโครงคร่าว ได้แก่ โครงเหล็กชุบสังกะสี โครงเหล็กรูปพรรณ หรือโครงไม้เนื้อแข็ง ติดตั้งโดยใช้ตะปูหรือตะปูเกลียวเป็นตัวยึดวัสดุแผ่นใหญ่เข้ากับโครงคร่าว สำหรับการตกแต่งพื้นผิว สามารถทำได้หลายวิธี เช่น โป๊วรอยต่อด้วยอะคริลิคหรือพัตตี้ ฉาบด้วยปูนฉาบตกแต่งผิวบาง การทาสี ปูกระเบื้อง และติดวอลล์เปเปอร์
ข้อดีข้อเสียของ ผนังเบา
ข้อดีของผนังเบา
- การติดตั้งหรือรื้อถอนได้ง่าย และประหยัดเวลา
- มีน้ำหนักเบา ทำให้เคลื่อนย้ายและติดตั้งได้ง่าย
- ไม่จำเป็นต้องมีคานมารองรับ จึงง่ายในการต่อเติมเปลี่ยนแปลงห้องที่ทำในภายหลัง
- สามารถติดตั้งวางระบบไฟและน้ำได้ง่าย เนื่องจากผนังเบาหลายชนิดเป็นผนังกลวง เป็นโครง แล้วบุวัสดุผิวทับ
ข้อเสียของผนังเบา
- มีความแข็งแรงทนทานน้อยกว่าผนังแบบก่ออิฐ
- กันเสียงได้น้อยกว่าผนังแบบก่ออิฐ
- การป้องกันความร้อนน้อยกว่าผนังแบบก่ออิฐ
- รับน้ำหนักแขวนได้น้อย
- มักไม่ค่อยทนความชื้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการบวม ขาดยุ่ย และขึ้นราได้ง่าย
- บริเวณรอยต่อระหว่างแผ่นสามารถเกิดรอยแตกร้าวได้ง่าย
ผนังเบา : แผ่นยิปซัมบอร์ด (Gypsum Board)
ยิปซัมบอร์ด (Gypsum Board) เป็นผนังที่ทำมาจากผงยิปซัมเผา และปิดทับด้านหน้าและด้านหลังด้วยกระดาษเหนียว เป็นผนังเบาที่มีน้ำหนักเบาที่สุด มีราคาถูก ทำงานง่าย สามารถตัดต่อได้ง่าย เก็บรอยต่อง่าย โป๊วทับได้เรียบเนียน รีไซเคิลง่าย ส่วนใหญ่มักนำไปปิดทับผิวผนังก่ออิฐอีกทีเพื่อให้ผิวเนียบเรียบ ติดตั้งง่ายและรวดเร็ว
ข้อเสีย คือ ไม่กันน้ำ (ยกเว้นบางสเปคที่สามารถกันความชื้นได้) จึงเหมาะสำหรับใช้ในงานภายใน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่กันปลวก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วปลวกจะไม่กินยิปซัม แต่ที่ปลวกกินยิปซัมบอร์ดนั้นเพราะปลวกกินวัสดุผิวหน้าของบอร์ดที่เป็นกระดาษ (ทำมาจากเซลลูโลส ซึ่งก็มีต้นกำเนิดมาจากไม้นั่นเอง) และมีความแข็งแรงน้อยที่สุด
มีขนาดเป็นขนาดมาตรฐาน ขนาดที่ถูกใช้กันบ่อย คือ ขนาด 120X240 เซนติเมตร มีความหนาตั้งแต่ 9 มิลลิเมตร ถึง 15 มิลลิเมตร ความหนาที่นิยมใช้ตามบ้านเรือน คือ ความหนา 9 มิลลิเมตร ในส่วนของราคาแผ่นยิปซัมบอร์ดจะอยู่ที่ประมาณ 140-300 บาท ขึ้นอยู่กับความหนาและยี่ห้อของแผ่นยิปซัมบอร์ด
แผ่นซีเมนต์บอร์ด (Cement Board) หรือ วีว่าบอร์ด (Viva Board)
ซีเมนต์บอร์ด (Cement Board) หรือที่ถูกเรียกกันอีกชื่อว่า วีว่าบอร์ด (Viva Board) ผลิตจากเศษไม้อัดผสมกับปูนซีเมนต์ แล้วนำไปอัดด้วยแรงดันสูงเพื่อขึ้นรูปเป็นแผ่น มีผิวเรียบเหมือนผิวซีเมนต์ สามารถทาสีทับได้เหมือนซีเมนต์ปกติ มีความแข็งแรงมากกว่ายิปซัมบอร์ด เป็นผนังเบาที่มีราคาสูงและหนักที่สุด
คุณสมบัติเด่น คือ กันน้ำ และกันปลวก ถึงแม้ภายในของซีเมนต์บอร์ดจะมีส่วนผสมของไม้ แต่เพราะบนผิวของบอร์ดเป็นเนื้อซีเมนต์จึงมีคุณสมบัติกันปลวก แต่ถ้าหากทำการตัดซีเมนต์บอร์ดแล้ว จะทำให้เห็นผิวเนื้อไม้ ทำให้ไม่สามารถกันปลวกได้ 100% มีความแข็งแรง สามารถใช้ทำผนัง ฝ้า และพื้นได้ขึ้นอยู่กับขนาดของโครงสร้างรองรับ
สามารถใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่การรีไซเคิลค่อนข้างยาก เก็บรอยต่อได้ยากกว่ารอยต่อของแผ่นยิปซัม มีโอกาสรอยต่อแตกได้ง่ายกว่า และมีราคาสูง
มีขนาดเป็นขนาดมาตรฐานเช่นกัน ขนาดที่ถูกใช้กันบ่อย คือ ขนาด 120X240 เซนติเมตร มีความหนาตั้งแต่ 8 มิลลิเมตร ถึง 24 มิลลิเมตร ในส่วนของราคาวีว่าหรือซีเมนต์บอร์ดจะอยู่ที่ประมาณ 300-800 บาท ขึ้นอยู่กับความหนาและยี่ห้อ
แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ (Fiber Cement Board)
ไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด (Fiber Cement Board) หรือที่มักถูกเรียกว่า สมาร์ทบอร์ด (Smartboard) ผนังเบา ที่มีลักษณะคล้ายซีเมนต์บอร์ด แต่ต่างกันที่ผสมด้วยเส้นใยไฟเบอร์ผสมกับซิลิกา ไม่มีส่วนผสมของไม้
คุณสมบัติเด่น คือ สามารถดัดโค้งได้ตามการใช้งาน เพราะทั้งมีความยืดหยุ่นและเหนียวจากไฟเบอร์ด้านในบอร์ด และมีความบางกว่า กันปลวก เพราะไม่มีทั้งส่วนประกอบของไม้และกระดาษ ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รีไซเคิลง่าย สามารถใช้งานได้ทั้งเป็นฝ้า ผนัง และพื้น ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคนที่ไม่ติดปัญหาเรื่องงบประมาณ แต่เก็บรอยต่อได้ยากกว่ารอยต่อของแผ่นยิปซัม มีโอกาสรอยต่อแตกได้ง่ายกว่า
ด้วยความที่เส้นใยไฟเบอร์ในไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ดมีความเหนียวมากกว่าเศษไม้ในซีเมนต์บอร์ด ทำให้สามารถผลิตได้บางกว่า มีความหนาเริ่มต้นตั้งแต่ 3.5 มิลลิเมตร ถึง 18 มิลลิเมตร มีขนาดมาตรฐานคือ 120X240 เซนติเมตร มีราคาอยู่ที่ประมาณแผ่นละ 100-800 บาทขึ้นอยู่กับความหนา
สำหรับ หนังเบา ที่แผ่นที่มีความบางมากๆ เช่น ความหนา 3.5 มิลลิเมตร อาจมีปัญหาในการติดตั้งเล็กน้อย หากยิงสกรูด้วยแรงมากเกินไป สกรูอาจจะทะลุได้ แล้วไม่สามารถผังหัวสกรูและโป๊วด้วยอะคริลิคแล้วทาสีทับได้ ในกรณีต้องการฝังหัวอาจเลือกแผ่นที่มีความหนามากขึ้นเช่น 8-9 มิลลิเมตรขึ้นไป