Knowledge

ตู้ปลารั่ว ซ่อมตู้ปลา ด้วยกาวซิลิโคน

ตู้ปลารั่ว ซ่อมตู้ปลา

ตู้ปลาเป็นของตกแต่งบ้านที่เป็นที่นิยมมากที่สุดอย่างหนึ่ง เนื่องจากเพิ่มสีสัน ความมีชีวิตชีวาให้กับบ้าน และไม่ได้กินพื้นที่มากนัก แต่ภายในความสวยงาม ก็มาพร้อมกับการดูแลรักษาที่ค่อนข้างจะยุ่งยาก ทั้งการคอยหมั่นทำความสะอาดตู้ และน้ำในตู้ให้ปลอดภัยกับปลาและพืชน้ำ นอกจากนี้การที่ตู้ปลาทำมาจากแผ่นกระจกใส ทำให้มีความเสี่ยงที่จะแตก หรือร้าวสูง และเมื่อใช้ไปนานๆก็มีโอกาสน้ำรั่วตามแนวรอยต่อของแผ่นกระจก ฉะนั้นเพื่อให้ตู้ปลาอยู่กับบ้านเราไปด้านนานๆ ต้องมีการหมั่น ซ่อมตู้ปลา ถ้าหากเกิดเหตุการณ์ ตู้ปลารั่ว

ทำไมตู้ปลาถึงรั่ว?

ปกติแล้วตู้ปลานั้นไม่ได้รั่วมาจากรอยแตกของแผ่นกระจก แต่รั่วมาจากรอยต่อระหว่างแผ่นจระจกของตู้ปลา ที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของกาวยาแนวที่ติดแผ่นกระจกให้อยู่ด้วยกัน จึงทำให้มีน้ำซึมออกมาตามยาแนวที่เสื่อม

รู้ได้อย่างไรว่า ตู้ปลารั่ว แล้วรั่วตรงไหน?

ในการดูว่าตู้ปลารั่วหรือไม่ วิธีที่ดีที่สุด คือ การวัดระดับน้ำ ถ้าหากเมื่อเติมน้ำลงไปแล้วระดับน้ำลดลงเมื่อเวลาผ่านไป แปลว่า น้ำรั่วแน่นอน โดยอาจทำการมาร์กระดับน้ำเอาไว้ แล้วตรวจวัดระดับน้ำดูเมื่อผ่านไป 1 วัน

ถ้าหากตรวจสอบแล้วว่าตู้มีน้ำรั่ว ขั้นตอนต่อไปคือการหาว่ารอยรั่วนั้นอยู่ตรงไหน ซึ่งอาจทำได้โดยตรวจดูว่าเมื่อทิ้งตู้ปลาไว้ ระดับน้ำลงไปแล้วอยู่คงที่ที่ระดับไหน แปลว่ารอยรั่วจะอยู่ด้านบนระดับน้ำ และสำหรับการหาตำแหน่งของรอยรั่วแบบเจาะจง ให้แปะกระดาษทิชชู่ไว้บริเวณรอยต่อของตู้ปลา เมื่อทิ้งเอาไว้ ในบริเวณที่มีรอยรั่ว กระดาษทิชชู่จะเปียก เมื่อรู้ตำแหน่งของรอยรั่วแล้วให้มาร์กตำแหน่งเอาไว้

วิธีการ ซ่อมตู้ปลา โดยไมต้องเทน้ำออก

หลังจากที่รู้แล้วว่ารอยรั่วอยู่บริเวณไหน ขั้นตอนต่อไปมาซ่อมตู้ปลารั่วกันดีกว่า

ขั้นตอนที่ 1 : ระบายน้ำออกจากตู้ปลา

ใช้ภาชนะตักน้ำออกจากตู้ปลา จนระดับน้ำอยู่ต่ำกว่ารอยรั่วของตู้ปลา เพื่อที่จะให้บริเวณรอยรั่วแห้ง และสามารถถูกซ่อมแซมได้ โดยไม่ต้องระบายน้ำและย้ายปลาออกทั้งหมด

ในกรณีที่รอยรั่วอยู่ใกล้ก้นตู้มากๆ จำเป็นจะต้องระบายน้ำและปลาออกให้หมด ซึ่งก่อนระบายน้ำออก ให้หาภาชนะอื่นมารองรับน้ำและปลาในตู้ไว้ และนำของตกแต่งตู้ต่างๆออก

ขั้นตอนที่ 2 : กรีดกาวยาแนวเดิมออก
เหตุผลที่ต้องกรีดกาวยาแนวเดิมออกก่อน ไม่เติมกาวยาแนวทับเข้าไปเลย
เนื่องจากกาวยาแนวเดิมอาจหมดอายุหรือมีคราบสกปรกติดอยู่ หากยิงกาวยาแนวใหม่ทับลงไปอาจทำให้การซ่อมแซมได้ผลไม่ดีพอ แต่ไม่จำเป็นต้องกรีดยาแนวระหว่างแผ่นแก้วจนแก้วแยกออกจากกัน โดยอุปกรณ์ที่ควรใช้ในการกรีด คือ มีดขูดทำความสะอาดกระจก (Razor Blade Scraper) เนื่องจากออกแบบไว้สำหรับกระจก ไม่คมเกินไปจนทำให้กระจกเป็นรอย แต่คมพอที่จะกรีดกาวยาแนวออกได้

ซ่อมตู้ปลา กรีดกาวยาแนว ตู้ปลารั่ว

ขั้นตอนที่ 3 : ทำความสะอาดพื้นผิว

ขั้นตอนต่อไปคือการทำความสะอาดพื้นผิว เพื่อให้กาวยาแนวใหม่ยึดติดได้ดีขึ้น โดยใช้ผ้าชุบอะซิโตน (Acetone) เช็ดเพื่อกำจัดฝุ่นและกาวยาแนวเก่าที่หลงเหลืออยู่

ขั้นตอนที่ 4 : ยิงกาวยาแนวใหม่

กาวยาแนวที่ใช้ในการซ่อมตู้ปลา ควรเป็นกาวซิลิโคนชนิดเป็นกรด  ไม่มีสารพิษ และไม่มีสารป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อรา อย่างเช่น AdSeal Uniglaze AE หรือ Sealmax GP

ยิงกาวซิลิโคนโดยใช้ปืนยิงกาว ลงในบริเวณที่จะซ่อมแซมทางด้านในของตู้ หลังจากนั้นใช้นิ้วหรือยางปาดกาวปาดซิลิโคนให้เรียบ โดยสาเหตุที่จะต้องยิงกาวซิลิโคนจากด้านในตู้ ไม่ยิงเอาไว้ด้านนอกตู้ก็เพราะ แรงดันน้ำจะช่วยดันกาวซิลิโคนที่อยูด้านในตู้ ให้ติดกับผนังตู้ตลอดเวลา ในขณะที่เมื่อยิงกาวซิลิโคนด้านนอกตู้ แรงดันน้ำจะดันกาวไปในทางที่จะทำให้กาวหลุดออกตลอด

ขั้นตอนที่ 5 : รอให้กาวซิลิโคนแห้ง

รอให้กาวซิลิโคนแห้งอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และถ้าจะให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ควรรอให้ซิลิโคนแห้ง 48 ชั่วโมงก่อนใส่น้ำ ถ้าหากใส่น้ำกลับเข้าไปทันทีหลังจากยิงกาวซิลิโคน กาวซิลิโคนจะลอกออกจากตู้ ทำให้ต้องเริ่มซ่อมใหม่ตั้งแต่แรก

ขั้นตอนที่ 6 : เติมน้ำลงในตู้ปลา แล้วเช็คว่ายังมีรอยรั่วอยู่ไหม

ขั้นตอนสุดท้าย คือ การเติมน้ำกลับลงไปในตู้ แล้วตรวจสอบว่าตู้ยังรั่วอยู่หรือไม่ ถ้าหากผ่านมาหลายชั่วโมงแล้วยังไม่มีน้ำรั่ว แปลว่าซ่อมได้สำเร็จแล้ว

Share post :

เว็บไซต์ของ บริษัท แอดฮีซีล จำกัด มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่บริษัทฯจัดเก็บ วัตถุประสงค์ในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ ของบริษัทฯ