บทความ & ความรู้ทั่วไป

ความแตกต่างระหว่างซิลิโคน และโพลียูรีเทน (กาวพียู) คืออะไร

ความแตกต่างระหว่างซิลิโคน และโพลียูรีเทน

กาวซิลิโคนและกาวโพลียูรีเทน (กาวพียู) แตกต่างกันอย่างไร

กาวยาแนว หรือ Sealant คือวัสดุอุดแนวรอยต่อระหว่าง 2 วัสดุซึ่งอาจเหมือนหรือแตกต่างกันก็ได้ เพื่อป้องกันการซึมผ่านของน้ำ แก๊ส และฝุ่น และรองรับการขยับตัวของรอยต่อ กาวยาแนว 2 ประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ กาวซิลิโคน และกาวโพลียูรีเทนหรือกาวพียู กาวยาแนวทั้งสองประเภทมีความยืดหยุ่นและรองรับการยืดหดตัวได้ถึง 25-50 เปอร์เซ็นต์ แต่กาวทั้งสองประเภทมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันทำให้เหมาะแก่การใช้งานที่ต่างกันออกไป ความแตกต่างระหว่างซิลิโคน และโพลียูรีเทน (กาวพียู) ได้แก่

คุณสมบัติทางเคมี

กาวซิลิโคน เป็นสารประกอบอนินทรีย์ ประกอบด้วยซิลิคอนและออกซิเจน เป็นองค์ประกอบหลัก มีโครงสร้างสันหลัง (Backbone) เป็นซิลิคอนจับกับออกซิเจน (Si-O-Si) ซึ่งมีพลังงานพันธะ (Bond Energy) หรือพลังงานที่ต้องใช้ในการสร้างหรือทำลายพันธะเท่ากับ 106 kcal/mol ซึ่งมีค่ามากกว่าค่าพลังงานพันธะของกาวโพลียูรีเทนที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีโครงสร้างสันหลังเป็นคาร์บอน (C-C / ค่าพลังงานพันธะเท่ากับ 85 kcal/mol) ทำให้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อม เช่น รังสีอัลตราไวโอเลต (UV) จากแสงอาทิตย์

กาวโพลียูรีเทน เป็นสารประกอบอินทรีย์ ซึ่งประกอบด้วยไนโตรเจน คาร์บอน และออกซิเจนเป็นองค์ประกอบหลัก จึงทนรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงอาทิตย์ ได้น้อยกว่ากาวซิลิโคน และอาจมีการเปลี่ยนสีของเนื้อกาวจึงมักจะมีการทาสีทับ หรือมีสารเคลือบเซรามิกป้องกันในกรณีกระจกรถ

ความแตกต่างระหว่าง กาวซิลิโคน และ กาวโพลียูรีเทน (กาวพียู)

คุณสมบัติทางกายภาพ

กาวโพลียูรีเทนมีความแข็งแรง เหนียว แน่น มากกว่ากาวซิลิโคน มีลักษณะคล้ายยาง ทำให้เกิดการฉีกขาดได้ยากกว่ากาวซิลิโคน กาวโพลียูรีเทนจึงถูกนำมาใช้ในงานที่ต้องการความแข็งแรงสูง เช่น การติดกระจกหน้าของรถยนต์กับโครงรถยนต์ ติดตัวถังรถบรรทุก และยาแนววัสดุที่มีรูพรุนเพราะไม่เกิดคราบรอยเปื้อนจากออยล์ที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวจากกาวซิลิโคน นอกจากนี้กาวโพลียูรีเทนมีพื้นผิวด้านทำให้สามารถทาสีทับได้ ในทางกลับกันกาวซิลิโคนมีพื้นผิวเรียบลื่น และมีส่วนผสมที่เป็นออยล์ ทำให้ไม่สามารถทาสีทับได้ และเกิดคราบรอยเปื้อนบนวัสดุที่มีรูพรุนได้

อายุการใช้งาน

เนื่องจากโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกันของกาวทั้งสองประเภททำให้มีอายุการใช้งานที่ต่างกัน โดยกาวโพลียูรีเทนจะมีอายุเฉลี่ย 10 ปีหากใช้งานภายนอกอาคารหรือไม่ได้มีการทาสีทับ แต่ถ้าใช้ภายในอาคาร หรือไม่ได้สัมผัสกับแสงแดดโดยตรง อายุการใช้งานก็จะสูงมากกว่า 20 ปี โดยขึ้นอยู่กับปริมาณของแสงแดดและอุณหภูมิในสถานที่นั้นๆ ส่วนกาวซิลิโคนคุณภาพสูง จะมีอายุการใช้งานเฉลี่ยอย่างน้อย 20 ปี ถ้าใช้งานตามคุณสมบัติของเกรดซิลิโคนนั้นๆ และไม่มีการฉีกขาดที่รุนแรงเกิดขึ้น

ราคา

ทั้งกาวซิลิโคน และโพลียูเรเทน ที่ถือว่าเป็นกาวคุณภาพสูง (เกรดคุณภาพสูง และเกรด 100%) กาวซิลิโคนจะมีอายุการใช้งานที่นานกว่ากาวโพลียูรีเทน แต่ทั้งนี้กาวซิลิโคนก็มีราคาที่สูงกว่ากาวโพลียูรีเทนด้วยเช่นกัน ฉะนั้นผู้ใช้งานจะต้องคำนึงถึงลักษณะงาน วัสดุที่ต้องการนำไปใช้งาน อายุการใช้งาน และค่าแรงงานประกอบกันกับงบประมาณ

ทั้งนี้การเลือกวัสดุยาแนวควรเลือกให้ตรงกับการใช้งานนั้นสำคัญที่สุด เนื่องจาก ความแตกต่างระหว่างซิลิโคน และโพลียูรีเทน (กาวพียู) ต้องการคำปรึกษาด้านกาวจาก Adhesive and Sealant Specialist ติดต่อแอดฮีซีล

บทความอื่น

เว็บไซต์ของ บริษัท แอดฮีซีล จำกัด มีการใช้งานคุกกี้ (Cookies) เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้แก่คุณในการเข้าใช้งานเว็บไซต์ คุณสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่บริษัทฯจัดเก็บ วัตถุประสงค์ในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้จาก นโยบายการใช้คุกกี้ ของบริษัทฯ